ชื่อสามัญภาษาไทยหอยตะโกรม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษPACIFIC OYSTER
ชื่อวิทยาศาสตร์Crassostrea gigas
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของหอยตะโกรม เป็นหอยสองฝา ทั่วไปฝาทั้งสองมีขนาดไม่เท่ากัน ฝาข้างซ้ายมีขนาดใหญ่ ฝาทั้งสองเปิดปิดได้ด้วยมัดกล้ามเนื้อมัดเดียว เปลือกแบ่งเป็น 3 ชั้น ชั้นในสุดบางมีสีคล้ายมุกและเรืองแสงชั้นนอกสุดมีลักษณะเป็นแผ่นบางมักจะหลุดลอกออกบ่อย ๆ ชั้นกลางเป็นส่วนประกอบหลักของเปลือกหอยคล้ายชอล์ก เปลือกของหอยนางรมเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม หอยนางรมที่เติบโตบนวัตถุแข็งเปลือกจะมีจำนวนร่องมาก แต่ถ้าเจริญในน้ำที่มีความเค็มสูง เปลือกจะแข็งกว่าหอยที่อยู่ในที่มีความเค็มต่ำ จะสืบพันธุ์วางไข่เมื่ออายุประมาณ 1 ปี จำนวนไข่มีปริมาณแตกต่างกันตามท้องที่และชนิดของหอย ฤดูวางไข่โดยทั่วไปจะวางไข่ตลอดปี แต่จะมากในเดือนที่ก่อนหรือหลังฝนตก
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบหอยตะโกรมแพร่กระจายในแถบปากแม่น้ำชายฝั่ง จ. สุราษฎร์ฯ ตรัง ชุมพร ประจวบฯ ระยองและจันทบุรี
อาหารหอยตะโกรมกินสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แพลงก์ตอน ไดอะตอม และพวกอนุภาคของอินทรีย์สารที่สลายมาจากการเน่าเปื่อยผุพังของพืชและสัตว์ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำ
ขนาดประมาณ 9-20 ซ.ม.
รูปภาพ