ชื่อสามัญภาษาไทยอีดูด
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSIAMESE GYRINOCHELLID
ชื่อวิทยาศาสตร์Gyrinocheilus anymonier
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของอีดูด ลำตัวยาวเรียว ว่ายน้ำได้รวดเร็วมีความคล่องตัวสูง อยู่รวมกันเป็นฝูง ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับยึดเกาะ ซึ่งสามารถใช้เกาะกับของแข็ง เพื่อช่วยตัวให้อยู่ในกระแสน้ำเชี่ยวได้ และบางทีในที่ไม่มีกระแสน้ำไหลเลย ปลาก็ใช้ปากเกาะเหมือนกัน ช่องเปิดเหงือกแต่ละข้าง มีสองช่องสำหรับให้น้ำไหลผ่านใช้ในการหายใจ ผิดจากปลาน้ำจืดชนิดอื่นที่ดูดน้ำเข้าทางปากและปล่อยออกทางช่องเหงือกเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะเหมือนกัน
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบอีดูดชอบรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ตามชายฝั่งที่มีน้ำไหลและน้ำนิ่ง พบชุกชุมในฤดูฝน มีอยู่ทั่วไปในที่ราบลุ่มของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง พบที่จังหวัดสุโขทัย และภาคกลางพบที่นครสวรรค์ เพชรบุรี และกาญจนบุรี ภาคอีสานพบมากในแม่น้ำโขง และทางภาคใต้พบที่สงขลา
อาหารอีดูดกินตะไคร่น้ำ เศษพืช และสัตว์ที่เน่าเปื่อย เป็นอาหาร
ขนาดความยาวประมาณ 20-26 ซ.ม.
รูปภาพ