ชื่อสามัญภาษาไทยเต่ากะอาน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษSOUTHERN SALT-WATER TERRAPIN
ชื่อวิทยาศาสตร์Batagur baska
ลักษณะทั่วไปลักษณะของเต่ากะอาน เป็นเต่าทะเลซึ่งมีกระดองเป็นรูปไข่ ด้านหลังโค้งนูน ท้องแบนเรียบ หัวนิ่ม จมูกแหลมเชิดขึ้นข้างบน ลำคอยาวและมีเกล็ดเล็ก ๆ ขาคู่หน้าและคู่หลังสั้น แต่ละข้างมีนิ้ว 4 นิ้ว ปลายเป็นเล็บแข็งสีทอง กระดองเป็นสีเทาแถบเขียว ท้องสีขาว หัวสีเทาปนขาว ริมฝีปากสีเหลือง เพศผู้ขอบตาสีเหลืองเห็นได้ชัดเจนในฤดูผสมพันธุ์ เต่ากะอานวางไข่ในเวลากลางคืนระหว่างเดือน มกราคม - มีนาคม โดยจะมาหาที่วางไข่บนหาดทราย ขุดหลุมขนาดกว้าง 30-42 ซ.ม. ลึก 20 ซ.ม. วางไข่ครั้งละ 20-50 ฟอง จำนวนไข่มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของแม่เต่าและใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 70 วัน
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบเต่ากะอานเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างหายาก พบในบริเวณน้ำกร่อยในอ่าวไทย พบที่ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
อาหารเต่ากะอานกินสัตว์น้ำและพืช โดยเฉพาะผลของต้นลำพู
ขนาดกระดองยาวประมาณ 65 ซ.ม.
รูปภาพ