แก้มช้ำ คืออะไร แปลว่าอะไร ตัวอย่างประโยค จากพจนานุกรมข้อมูลภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ผลการค้นหาคำศัพท์

แก้มช้ำ

พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทยความหมายจาก พจนานุกรมภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

แก้มช้ำ

ชื่อสามัญภาษาไทยแก้มช้ำ

ชื่อสามัญภาษาอังกฤษRED-CHEEK BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์Puntius orphoides

ชื่อไทยอื่นๆ

ลักษณะทั่วไปลักษณะของแก้มช้ำ เป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในสกุลเดียวกับปลาตะเพียนขาว ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบน หัวเล็ก ปากค่อนข้างเล็กและอยู่ปลายสุด มีหนวดสั้นและเล็ก จำนวน 4 เส้น มีเกล็ดค่อนข้างใหญ่ สีตามบริเวณลำตัวและส่วนหัวจะเป็นสีขาวเงิน หลังสีน้ำตาลอ่อน กระพุ้งแก้มสีแดงเหมือนรอยช้ำ บริเวณหลังช่องเปิดเหงือกมีแถบสีดำ ครีบหลัง ครีบก้นครีบท้องสีแดง ครีบหางจะมีแถบสีดำ

ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบแก้มช้ำพบทั่วไปตามแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง ในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง มีชื่อเรียกแตกต่างเป็นหลายชื่อตามท้องถิ่นที่พบเช่น ภาคกลางเรียกปลาแก้มช้ำ ภาคใต้เรียกปลาลาบก ภาคเหนือเรียกปลาปก ส่วนชื่อปลาขาวสมอมุกเรียกกันในแถบภาคอีสาน

อาหารแก้มช้ำกินแมลง ซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อย

ขนาดเป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 8-10 ซ.ม.

รูปภาพ

ดูคำอื่นๆในหมวด ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย

ความหมายของ แก้มช้ำ จากพจนานุกรมเล่มอื่นๆ

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

แก้มช้ำ

  • น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลําตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยช้ำ สุดแผ่นปิดเหงือกดํา โคนครีบหางมีจุดสีดํา พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดํา มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร ปักษ์ใต้เรียก ปก.
(อ่านต่อ...)

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

แก้มช้ำ

  • น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกปลาเนื้ออ่อน ลักษณะคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะพิเศษที่ลำตัวยาวกว่า.
(อ่านต่อ...)
กำลังโหลดข้อมูล