ชื่อสามัญภาษาไทยแมงดาหางเหลี่ยม
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษGIANT KING CRAB
ชื่อวิทยาศาสตร์Tachypleus gigas
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของแมงดาหางเหลี่ยม เป็นสัตว์โบราณที่มีวิวัฒนาการทางด้านรูปร่างและโครงสร้างน้อยมาก แมงดาชนิดที่โบราณที่สุดเรียกว่า แมงดาอรรณณพ มีซากพบในชั้นหิน อายุ 360 ล้านปีมาแล้ว แมงดาทะเลยุคปัจจุบันก็ยังมีรูปร่างเหมือนกับบรรพบุรุษของมัน สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับแมงมุม และแมงป่อง มีรูปร่างคล้ายปูขนาดใหญ่ แต่ไม่มีหนวด ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือหัวและอกรวมกัน รูปร่างคล้ายเกือกม้า ด้านบนนูนเป็นหลังเต่า มีตาข้างละ 1 คู่ และตาตรงกลางอีก 1 คู่ ด้านล่างมีปากและขา 6 คู่ ส่วนที่สองคือท้อง ขนาดเล็กกว่าส่วนแรก แบน ๆ และริมสองข้างมีหนามแหลมเรียงอยู่เป็นแถว ข้างล่างมีแผ่นเหงือกเรียงซ้อน ๆ กันใช้ในการหายใจและว่ายน้ำ สำหรับส่วนที่ราบเป็นหางยาวอาจจะกลมหรือเป็นเหลี่ยม มีปลายเรียวแหลม เพศของแมงดาชนิดนี้แยกได้จากลักษณะของรอยหยักที่อยู่บริเวณขอบหน้ากระดองมีรอยหยักสองแห่ง ถ้าจับจะพองออกเป็นกระเปาะสองคู่ประการหนึ่ง ประการที่สองสังเกตจากลักษณะของหางตัวผู้ซึ่งเป็นสันรูปสามเหลี่ยม มีหนามแหลมเล็กตามแนวสันหางและประการสุดท้าย ตัวเมียมีหนามบริเวณด้านข้างของส่วนท้อง 6 คู่ สามคู่แรกยาวและสามคู่หลังสั้น ส่วนตัวผู้ยาวใกล้เคียงกันทั้ง 6 คู่ โดยปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่และว่ายน้ำแข็งแรงกว่าตัวผู้ หน้าร้อนเป็นฤดูสืบพันธุ์ แมงดาทะเลตัวผู้ใช้ขาคู่สองและสามเกาะหลังตัวเมียเข้าสู่หาดทรายเป็นคู่ ถ้าแยกเอาตัวเมียออก ตัวผู้จะตายเพราะไม่มีแรงว่ายกลับไปยังทะเลได้
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบแมงดาหางเหลี่ยมหมกตัวอยู่ในพื้นโคลนและทรายตามชายฝั่งน้ำตื้น ๆ ในบริเวณคุ้งอ่าวและปากน้ำ
อาหารแมงดาหางเหลี่ยมกินหนอนและไส้เดือน เช่นตัวสงกรานต์
ขนาดกระดองมีความยาวประมาณ 38-40 ซ.ม.
รูปภาพ