ชื่อสามัญภาษาไทยCuora amboinenssis
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของCuora amboinenssis เต่าหับเป็นเต่าน้ำจืดขนาดเล็ก กระดองหลังโค้งนูน กระดองท้องมีสันขวางกับลำตัวหนึ่งอัน ทำให้ดูเหมือนกับกระดองท้ายถูกแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งชาวบ้านเรียกแผ่นแต่ละแผ่นที่ถูกแบ่งโดยสันนี้ว่า \"หับ\" ตามปกติที่พบทั่วไปจะมีสองหับ แต่บางตัวจะมี 3 หับ ซึ่งหายาก นิยมซื้อขายกันในราคาที่ค่อนข้างแพง เป็นเต่าที่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดอง เกล็ดของกระดองหลังมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม กระดองท้องมีเกล็ดสีเหลืองสดหรือสีครีม ขอบเกล็ดแต่ละอันมีสีดำ ขาทั้งสี่มีสีเทา ผิวหนังบริเวณลำคอและหางสีขาว มีแถบสีขาวอยู่ที่สันของหัว หน้าตา หลังตา คอ และริมปากล่างมีสีเหลือง ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่จะขึ้นมาวางไข่บนบก โดยขุดหลุมฝังไข่ วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบCuora amboinenssisพบแพร่กระจายและมีชุกชุมในภาคกลางและภาคใต้ อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลองหนองและบึง เต่าชนิดนี้ชอบซ่อนอยู่ในกอหญ้าตามชายบึงและรอบ ๆ แหล่งน้ำ
อาหารCuora amboinenssisกินทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำพวกหอย กุ้ง และลูกปลา รวมทั้งหนอนที่อยู่ตามแหล่งน้ำ
ขนาดเท่าที่พบขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวของกระดอง 18 ซ.ม. และหนักประมาณ 1.6 กก.
รูปภาพ