ชื่อสามัญภาษาไทยLabeo rohita
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษROHU
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของLabeo rohita เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียนขาว ลำตัวยาวเรียวแบนข้าง รูปร่างคล้ายปลานวลจันทร์น้ำจืด หัวค่อนข้างโต ปากแคบ ริมฝีปากหนามีร่องรอบปาก มีหนวดสั้น ๆ อยู่มุมปากบน 1 คู่ ลำตัวด้านหลังสีน้ำเงินปนเทา ด้านข้างสีน้ำเงินและจางลงจนถึงส่วนท้อง เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีจุดสีแดง ครีบทุกครีบสีชมพูอ่อน
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบLabeo rohitaแต่เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย นักวิชาการประมงของไทยทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมได้เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2511 ต่อมาได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำทั่วประเทศ ชอบอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีพื้นเป็นกรวดทรายและอุดมสมบูรณ์ด้วยแพลงก์ตอนสีเขียว
อาหารLabeo rohitaกินแพลงก์ตอนและพืชน้ำขนาดเล็ก
ขนาดความยาวประมาณ 15-70 ซ.ม.
รูปภาพ