ชื่อสามัญภาษาไทยSUMATRAN TIGER BARB
ชื่อวิทยาศาสตร์Systomus partipentazona
ชื่อไทยอื่นๆ
ลักษณะทั่วไปลักษณะของSUMATRAN TIGER BARB เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในสกุลเดียวกันกับปลาตะเพียนขาว จึงมีรูปร่างคล้ายคลึงกันที่ลำตัวมีแถบดำพาดขวาง 5 แถบ สองแถบแรกพาดผ่านตาและหน้าครีบหลัง แถบที่สามพาดผ่านโคนครีบหลังและสันหลัง แถบที่สี่พาดผ่านโคนครีบก้นและลำตัว ส่วนแถบที่ห้าอยู่ที่โคนหาง ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลือง มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่
ถิ่นอาศัย แหล่งที่พบSUMATRAN TIGER BARBเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบตามแม่น้ำลำธาร และหนองบึง แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย ชาวนครสวรรค์เรียกว่า ปลาข้างลาย ทางภาคใต้เรียกว่า เสือสุมาตรา
อาหารSUMATRAN TIGER BARBกินลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำและเศษซากพืช และสัตว์เน่าเปื่อย
ขนาดความยาวประมาณ 3-6 ซ.ม.
รูปภาพ