ขึ้น
- ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง
- เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น
- เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่
- เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ
- เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู
- เกิด มี เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น
- นิยมนับถือเลื่อมใส เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก
- อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ
- อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น
- ฟู เช่น ขนมขึ้น
- แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น
- งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น
- มีโชคจะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น
- ก่ง เช่น ขึ้นธนู
- ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง
- เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน
- ทําให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง
- เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน
- เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง
- (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
- ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น
- เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น
- เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น
- ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น
- มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.