ต่อ
- น. ชื่อแมลงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายวงศ์ มีปีก ๒ คู่ ลักษณะเป็นแผ่นบางใส ปีกคู่หลังเล็กกว่าปากเป็นชนิดกัดกิน เอวคอดกิ่ว ตัวเมียมีเหล็กในสําหรับต่อยปล่อยนํ้าพิษทําให้เจ็บปวดได้ บางชนิดอยู่อย่างปีกคู่หน้าโดดเดี่ยว แต่บางชนิดรวมกลุ่มเป็นฝูง ทํารัง ที่สําคัญได้แก่ วงศ์ Vespidae เช่น ต่อหลวง (Vespa cincta).
- ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น
- ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ
- เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ
- ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ
- ต่อเทียน
- ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ
- ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้ ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง
- นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว เท่าทุน เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ น่าจะ ท่าจะ เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง)
- ถัดไป สืบไป ติดต่อกันไป เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ
- สิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ ประจันหน้า เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ
- เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า
- แต่ละ ราย เช่น ต่อคน ต่อปี
- เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑
- ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์ เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
- (กลอน) ก. รบ เช่น ซึ่งเจ้ามาต่อด้วยพ่อได้. (รามเกียรติ์ ร. ๑).