ทุ
- ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว ยาก ลําบาก เลว ทราม เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.
- ส. เดิมเป็น ทุสฺ) ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ ทุ + จริต เป็น ทุจจริต ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร ทุ + ข เป็น ทุกข ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์ หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์ ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
- (แบบ) ว. สอง มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
- ดู กระทุ.