แล
- ก. ดู มอง เช่น สองตาก็ไม่อยากแล เหลียวซ้ายแลขวา ทอดตาดูเพื่อให้รู้ให้เห็น มักใช้เข้าคู่กับคำ ดู หรือ เห็น เป็น แลดู แลเห็น.
- ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ แร ก็ว่า
- ทีเดียว ฉะนี้ (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ) ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
- สัน. และ กับ เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน. (ประกาศ ร. ๔) ฝูงเทพยดาถือแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร. (ไตรภูมิ).