RoV ป่วยจริงอิง โรงพยาบาล " วาน้อย " งัดหลักฐานโต้ ไบโพลาร์ ปลอม

RoV ป่วยจริงอิง โรงพยาบาล " วาน้อย " งัดหลักฐานโต้ ไบโพลาร์ ปลอม

RoV ป่วยจริงอิง โรงพยาบาล " วาน้อย " งัดหลักฐานโต้  ไบโพลาร์ ปลอม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว RoV ที่น่ารักทุกคนและผู้ติดตาม Esports ทุก ๆ ท่านคงไม่มีใครไม่รู้ข่าว เกี่ยวกับเรื่องเด่นประเด็นร้อน ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ระหว่างวาน้อยกับอดีตแฟนสาว ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง Sanook Game ก็ได้เขียนไปแล้ว จนบอกได้เลยว่าเรื่องราวนี้มีหลายฝ่ายนั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง และเป็นที่ติดตามของประชาชนพอสมควร ยังไงก็ตามเรื่องนี้ ยังคงมีความอ่อนไหวในแง่หลายประเด็น

โดยเราจะมาชี้แจง ในส่วนที่ทาง " วาน้อย " ได้ออกมาชี้แจงให้กับทาง Fan Page ส่วนตัวของเขา โอเคเราไปดูกันเลยครับว่าเรื่องราวต่าง ๆ เป็นยังไงบ้าง โดยอาทิตย์ก่อนหน้านี้ ทางแฟนสาวอดีตแฟนสาวและคนรู้จักของวาน้อย ได้มีการโต้เถียงกันไปมากับทางฝั่งของ " วาน้อย " และยังถูกพาดพิงบางส่วนด้วยประโยคที่ว่า...  "Bipolar ปลอมอาจจะเจอ Bipolar จริง" ซึ่งตรงนี้นั้นเพื่อน ๆ สามารถไปหาตามอ่านกันได้

ยังไงก็ตาม " วาน้อย " ก็ได้เผยหลักฐานที่ออกโดยทางโรงพยาบาล " สมิติเวช สุขุมวิท " อย่างถูกต้องกับใบรับรองแพทย์ ที่แสดงให้เห็นว่าตัวเขานั้น ไปรักษาโรค Bipolar มาจริง อย่างที่อ้างไว้ก่อนหน้านี้ เพราะยังมีหลายฝ่ายสงสัยในประเด็นนี้ คราวนี้คำตอบในเรื่องนี้ก็กระจ่างชัดเจน ส่วนในเรื่องของประเด็นที่ทาง " วาน้อย " ป่วยโรค Bipolar แล้วได้เกิดเหตุทะเลาะกับแฟนสาว

จนเป็นที่ประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย และข่มขู่ฝ่ายหญิงในก่อนหน้านี้นั้น ก็คงต้องบอกว่าในกรณีนี้ จะใช้เป็นข้ออ้างทางกฎหมายได้หรือไม่ ก็คงต้องดูกันต่อไป แต่บางคนก็ยังให้ความเห็นว่าโรคชนิดนี้ อาจจะไม่สามารถเอามาใช้ เป็นข้ออ้างทางกฎหมายได้ เพราะว่ายังถือว่ามีสติสัมปชัญญะสามารถควบคุมตัวเองได้อยู่ โดยอาการของ Bipolar Disorder นั้นคือโรคอารมณ์สองขั้วนั้นจะเป็นอย่างไร ผมนำมาให้เพื่อน ๆ ได้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของ Bipolar Disorder ครับ


โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

คือ โรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้า (Depression) สลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ระยะเวลาในแต่ละช่วง อาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการซึมเศร้า และคิดว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตามแพทย์จะซักประวัติ และติดตามลักษณะอาการขณะรักษาเพื่อใช้วินิจฉัยในการแยกโรคต่อไป

อาการอารมณ์สองขั้ว

  • ช่วงอารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ
  • มั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้นหรือคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่
  • นอนน้อย
  • พูดมากกว่าปกติหรือพูดอย่างไม่หยุด
  • ความคิดแล่นเร็ว
  • ว่อกแว่กง่าย
  • อยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  • หมกมุ่นอย่างมากกับกิจกรรมที่ทำให้เกิดปัญหา
  • เช่น ใช้จ่ายหรือลงทุนเยอะ ไม่ยับยั้งใจเรื่องเพศ ฯลฯ

ช่วงอารมณ์ซึมเศร้า

  • ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
  • เบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารมากเกิน
  • นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
  • กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้ามากขึ้น
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • สมาธิลดลง
  • คิดถึงเรื่องการตายอยู่เรื่อย ๆ
  • ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวัน แทบทุกวัน

ยังไงก็ขอเอาใจช่วยให้ " วาน้อย " หายป่วยแล้วขอให้เรื่องราวของทุก ๆ ฝ่ายนั้นจบลงได้ด้วยดีนะครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ คนไว้พบกันในโอกาสหน้าครับสวัสดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook