รีวิว King of Fighters XV รัวคอมโบให้มือระเบิด กับภาคที่เข้าถึงง่ายที่สุดของซีรีส์

รีวิว King of Fighters XV รัวคอมโบให้มือระเบิด กับภาคที่เข้าถึงง่ายที่สุดของซีรีส์

รีวิว King of Fighters XV รัวคอมโบให้มือระเบิด กับภาคที่เข้าถึงง่ายที่สุดของซีรีส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(อาจมีการเปรียบเทียบระหว่างเวอร์ชั่น PC และ PS4)

ในที่สุดก็มาถึง กับภาคต่อของเกม King of Fighter โดยเป็นเกมที่สองของ VERSE Saga หรือภาคที่ Shun'Ei หนุ่มอีโมใส่หูฟังได้เป็นตัวละครหลักของซีรีส์ โดยเป็นการพัฒนาภาพสไตล์ 3D ต่อเนื่องมาจากภาค XIV หลังผ่านการขัดเกลาสไตล์ภาพตาม feedback ที่ได้รับมาจากภาคก่อน รวมถึงต่อยอดระบบการต่อสู้ควบรวมทั้งจากภาค XIII และ XIV และเสริมฟังก์ชั่นใหม่ๆ เข้าไปอีกที ซึ่งเกมนี้ก็ได้กลับมาในจังหวะเวลาที่ดีมาก เพราะยุคของเกมต่อสู้กำลังค่อยๆ กลับมาอยู่ในกระแสหลักอีกครั้งหลังจาก Tekken นำทีมมาก่อน ตามมาด้วยเกมอย่าง Mortal Kombat, Dragonball, Street Fighter V และ Guilty Gear Strive

ภาคนี้มีคำโฆษณาหลักเป็นคำว่า Shatter all expectations ซึ่งเกมก็ทำส่วนของตัวละคร Starter ของเกมได้ดี เรียกว่าฉีกความคาดหวังของแฟนๆ ไปได้เกินครึ่งเลยทีเดียว อย่างทีม Orochi ซึ่งเป็นการกลับมาครั้งแรกของตัวละครทีมนี้หลังจากเกมภาค 97 (รวม 98 ด้วยหากนับภาคที่เนื้อเรื่องไม่ Canon) Krohnen ที่เป็นการกลับมาอีกครั้งของตัวร้ายอีกตัวที่น่าจดจำจาก NEST Saga อย่าง K'9999 ซึ่งทีมงานต้องทำการรีเวิร์คใหม่ทั้งชื่อและรูปลักษณ์ หรือ Heindern ที่เป็นการกลับมาลงสนามอีกครั้งแถมยังไปรวมทีมกับทีมคู่แข่งอย่าง Rival Team ที่เป็นการรวมตัวของตัวละครใหม่ทั้งหมด

และการกลับมาของตัวเอกจากทุก Saga ทั้ง Kyo, K' และ Ash เรียกว่ารวมญาติได้เลย มีตัวละครหลากหลายให้เลือกเล่นได้มากถึงเกือบ 40 ตัว แถมเกมยังประกาศ DLC ในอนาคตไว้ล่วงหน้าแล้วอย่างน้อย 4 ทีม 12 ตัวละครด้วย

ด้านของเนื้อเรื่อง แม้จะไม่คืบหน้าไปไหนมากนักหลังจากภาคที่แล้ว คือก็รวมทีมกันมาแข่ง จัดการบอส(ซึ่งไม่รู้ที่มาที่ไป) ก่อนจะจบลงแบบเงียบๆ ไปรอดูภาคต่อไปอีกที ซึ่งเกม King of Fighter ก็ทำแบบนี้มาตลอดอยู่แล้ว แต่ในภาคนี้ฉากจบมีจำนวนมากเป็นพิเศษ มีทั้งฉากจบของทีมอย่างเป็นทางการ เช่นต้องเล่นทีมที่เกมจัดมาให้แรกเริ่มเช่นทีม Hero ที่เป็นทีมของ Shun'Ei, Meiteikhun และ Benimaru เพื่อให้ได้ฉากจบ Canon ของเกม หรือทีม Three Sacred Treasure ที่เป็นการรวมทีมของตัวเอกจาก Orochi Saga ก็จะมีฉากจบเป็นของตัวเอง เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีฉากจบพิเศษสำหรับทีม Edit หรือทีมที่เกมไม่จัดมาให้อย่างเป็นทางการเป็นฉากจบลับอีกจำนวนมาก ซึ่งก็จะถ่ายทอดเรื่องราว ลักษณะนิสัยของแต่ละตัวละครออกมาได้น่ารักไม่น้อยเช่นการจับทีมของ Elizabeth, Shermie และ King เป็นฉากการแต่งชุดเดรสร่วมงานกัน ช่วยเซอร์วิสแฟนๆ ของเกมได้ดีมาก

มาพูดถึงระบบออนไลน์ของเกมกัน ซึ่งเกมนี้มีส่วนของระบบ Online หรือการสนับสนุนผู้เล่นให้ไป Online เล่นกับคนอื่นค่อนข้างมาก เรียกว่ามากจนเกือบจะกดดันให้คุณต้องออนไลน์เลยทีเดียว(สังเกตจากภาพประกอบเมนูเกมด้านบนได้ ส่วนของ Online มีการไฮไลต์เด่นออกมาจากชัดเจน แถมมีฟังก์ชั่นจำนวนมากรองรับ) มีทั้ง ซึ่งน่าสนใจว่าหลังจากทีมงานได้ลองเล่นเวอร์ชั่น PS4 แล้ว ไปลองเล่นบน PC ต่อ ตัวเกมเวอร์ชั่น Console กลับให้ความรู้สึกลื่นไหลน้อยกว่าของเวอร์ชั่น PC เล็กน้อยในด้านการเล่นออนไลน์

เทียบกับส่วนของ Offline หรือการเล่นแบบไม่สุงสิงกับใครแล้วเรียกได้ว่าน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับว่าเป็นส่วนที่น่าเสียดายของเกมนี้ที่ยังไม่สามารถสร้างจุดเด่นของตัวเองให้ดีเทียบเท่ากับเกมต่อสู้อื่นได้ ความหมายคือตัวเกมยังให้ความรู้สึกเหมือนเป็นการ port ตัวเกม Arcade หรือเกมตู้ มาลงเครื่อง Console ให้เล่นออนไลน์ได้เท่านั้นเอง ไม่มีระบบที่เล่นที่บ้านเท่านั้นถึงจะมีได้อย่างของ Mortal Kombat, Tekken, Street Fighter, หรือ Guilty Gear ได้

พูดถึงส่วนของเกมเพลย์หลัก หรือการควบคุม การออกท่าทางของตัวละครกันบ้าง วิธีการบังคับ การควงจอยหมุนไปหมุนมาของเกมนี้ บอกได้เลยว่าติดท๊อป 3 แน่นอน รูปแบบการกดท่าของแต่ละตัวมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ซึ่งหากเพื่อนๆ คนไหนไม่มี Arcade Joy Stick สำหรับเล่นเกมต่อสู้โดยเฉพาะละก็ เตรียมปวดข้อนิ้วโป้งที่ต้องไถลไปมาบน D-Pad ได้เลย ใครอยากได้ความท้าทาย ส่วนนี้ของเกมนับว่าตอบโจทย์มาก

ตั้งแต่กดง่าย มีแค่ไม่กี่ปุ่มก็ออกท่าทางได้ (แต่อาจต้องกดต่อเนื่องอย่างรวดเร็วมากๆ ถึงจะเก่งหรือมีประโยชน์) ไปจนถึงการออกท่าที่ต้องควงจอย 270 องศาพร้อมกดปุ่มอีก 2 ปุ่มเพื่อให้ออกท่าได้ท่านึง หากเทียบกับเกมอย่าง Tekken คือตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว ไม่ต้องพูดถึงการจะคอมโบให้ได้สักชุดนึง คือนอกจากกดถูกแล้ว จังหวะการกดยังสำคัญมาก พลาดแค่ไม่กี่เฟรมหรือไม่ถึงหนึ่งวินาที ก็อาจจะหลุดคอมโบได้ ไม่มีความผ่อนปรนแต่อย่างใด

และส่วนสำคัญสุดท้ายที่ทุกคนต้องรู้ของเกมต่อสู้ นั่นคือการ "ต่อสู้" กับคนอื่นนั่นเอง คนอื่นในที่นี้ทั้งกับ CPU และผู้เล่นคนอื่นๆ ผ่านทางระบบออนไลน์ และออฟไลน์ด้วย ซึ่งซีรีส์เกม King of Fighter นับว่าเป็นเกมต่อสู้ที่ต้องการสิ่งที่เรียกว่า Legacy Skill หรือความสามารถและประสบการณ์จากเกมภาคเก่าๆ อย่างมาก มากพอๆ กับเกม Tekken เป็นต้น คือถ้าคุณเป็นผู้เล่นที่ตามเล่นมาตั้งแต่ภาค XIII เป็นอย่างน้อย เกมนี้คือเกมที่ใช่และต้องเล่นสำหรับคุณแน่นอนครับ เพราะคุณจะเก่งและคุ้นชินกับตัวเกมได้เร็วกว่าคนอื่นอย่างมาก

แต่ถ้าไม่ใช่ คุณอาจต้องการเวลาในการค่อยๆ ซึมซับตัวเกม หาวิธีตัวละครที่ชอบ การเล่นที่ใช่ ลองฝึกกดคอมโบง่ายๆ และใช้เวลาในโหมดออนไลน์หรือเล่นกับเพื่อนของคุณประมาณ 3 วันขึ้นไป ก่อนจะตัดสินตัวเกมอีกครั้งครับ แต่ไม่ได้จะบอกว่าคุณไม่ควรเล่นเกมนี้ เพราะเกมภาคนี้ และช่วงเวลาสัปดาห์แรกที่เกมวางขายนี้แหละ คือจังหวะเวลาที่ผู้เล่นใหม่ควรได้เข้าไปเล่นเกม ให้เวลากับมัน และลองวัดฝีมือของคุณทางการเล่นออนไลน์ นั่นเพราะเกม KOF ภาคนี้มีระบบออนไลน์ที่ดีมาก และมีการนำเสนอที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย ทำให้จะมีผู้เล่นใหม่เข้ามาลองจับซีรีส์นี้กันอีกมากแน่นอน เรียกว่าเข้าไปก็เจอเพื่อนมือใหม่เพียบ!

Review Score: 8/10 (6/10 สำหรับมือใหม่เกมต่อสู้)

ภาคต่อของเกมต่อสู้ที่มีประวัติมายาวนานระดับเดียวกับชื่อภาคของเกมภาคแรกสุดอย่าง King of Fighter 96 (ก็ปี 1996 เลยละ) และเกมก็พัฒนาทั้งด้านเนื้อเรื่อง การเล่าเรื่อง กราฟฟิคของเกมที่มีการทดลองมาหลายสไตล์ รวมถึงระบบออนไลน์ที่น่าจะพูดได้ว่าทำได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ของเกมต่อสู้ในตอนนี้เมื่อเทียบกับอีกหลายซีรีส์อย่าง Tekken 7, Street Fighter 5 หรือ Guilty Gear Strive เรียกว่าได้หลายๆ ค่ายต้องแข่งขันกันทำให้ระบบออนไลน์ลื่นไหล เล่นง่ายที่สุด รวมถึงจุดอ่อนของเกมตระกูล KOF ที่เล่นยากกว่าชาวบ้านเขา เล่นให้อลังการให้คนทั่วไปเห็นแล้วว้าวยิ่งยากกว่า เขาก็ทำให้ง่ายขึ้นมากในภาคนี้ เป็นการพัฒนาในทิศทางที่ดีมาก แม้จะแอบรู้สึกว่าตัวเอกอย่าง Shun'Ei แกดูไม่เท่เท่าไรก็เถอะนะ...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook