Diablo Immortal ทนายสายเกมมา ร้านเติมเงียบ ฟ้องอาญา จบเกม มีสิทธิ์นอนคุก

Diablo Immortal ทนายสายเกมมา ร้านเติมเงียบ ฟ้องอาญา จบเกม มีสิทธิ์นอนคุก

Diablo Immortal ทนายสายเกมมา ร้านเติมเงียบ ฟ้องอาญา จบเกม มีสิทธิ์นอนคุก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากเหตุการณ์การถูก Refund กันในเกม Diablo Immortal ครั้งใหญ่ในไทย นี่ก็ผ่านกันมาเกือบหนึ่งอาทิตย์กันแล้ว เชื่อเหลือเกินว่า ในกรณีนี้มีผู้เสียหายกันไม่น้อยทีเดียว ทางด้านทนายสายเกม เจ้าของช่อง Youtube ชื่อ "ทนาย พรรค เม่นบางผึ้ง STP Inter Law" ท่านได้ออกมาให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องของการเติมเงิน กับร้านค้าตัวกลางแล้วโดน Refund เงินจนเสียหาย ทีนี้ผู้เสียหายหากอยากดำเนินการ จะฟ้องอะไรได้บ้าง ผมมาสรุปประเด็นน่ารู้ให้กับเพื่อน ๆ ครับ

ปัจจุบันนี้ร้านเติมเงิน A ยังคงเงียบอยู่

แม้ว่าจะมีคำถามมากันเป็นระยะ ๆ ว่าเจ้าของร้าน A ผู้เป็นร้านตัวกลาง ในการเติมเงินราคาถูกนั้นหายไปไหน แม้ว่าทางร้าน A จะขึ้นโพสพร้อมรับผิดชอบในกรณีความเสียหาย และชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ พร้อมกับรับรายชื่อผู้เสียหายเอาไว้ แต่ในปัจจุบันนี้ ทางร้านจะมีทางออกและลงมือเริ่มแก้ไขเมื่อใด ทางด้านเพื่อน ๆ ผู้เสียหายก็ยังคงรอคำตอบอย่างไร้ความหวัง

ด้าน Community ก็มีการเคลื่อนไหว

ถ้าจะไม่ใช่เรื่องที่จะจบง่าย ๆ เสียแล้ว เพราะทางผู้เสียหายได้รวมตัวไปประสานกับทาง DSI และทางตำรวจได้แนะให้รวมตัวกันแจ้งความทางออนไลน์ หากตรวจสอบว่าคนรับเงินหรือผู้ต้องสงสัย มีคดีที่ดูเชื่อมโยงกัน ทางด้าน DSI จะจัดเป็นคดีใหญ่ และจะส่งเรื่องไปที่ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต่อไป ซึ่งตอนนี้รับเรื่องเป็นที่เรียบร้อย และยังมีการเปิดรับชื่อผู้เสียหายอีกหลายรายใน Community ตอนนี้ 

สรุปประเด็นเหตุการณ์นี้และแนวทางการฟ้อง

แนวทางฟ้องเป็นคดีอาญาและแพ่ง

  • ในคดี ฉ้อโกง
  • ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1)
  • หลอกลวงขายสินค้า
  • ทำให้เสียทรัพย์ (เช่นไอดีเติมเงินมาเองอย่างถูกต้อง 3 ล้าน แต่มาเติมร้านนี้ 1 ล้านบาทแล้วถูกแบน)
  • คดีแพ่ง / ละเมิด
  • คดีแพ่ง/ ผิดสัญญาการซื้อขาย

ตัวอย่างมาตราแนวทางคดีที่ฟ้อง: การขายบัตรเติมเงินเกม แล้วดึงเงินคืน ถือเป็นการลงข้อมูลเท็จ ในระบบคอมพิวเตอร์

มาตรา 14 (1) ที่บัญญัติว่า“ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน...”

ตัวอย่างมาตราแนวทางคดีที่ฟ้อง: หลอกลวงขายสินค้า

มาตรา 271 การลวงขาย เป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา  ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยหลักการแล้วธุรกิจร้านรับเติมที่ดีก็มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ในกรณีนี้ถือเป็นการย้ำเตือน ให้เหล่าร้านรับเติมเกมตัวกลาง มีมาตรการในการดูแลลูกค้า และแนวทางแก้ไขให้เหมาะสม เชื่อได้ว่าลูกค้าในปัจจุบัน ก็ยังอยากใช้บริการอยู่อีกมากมาย ก็ขอให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ กับทางผู้เสียหายและร้านรับเติม ก็ขอให้ไกล่เกลี่ยและจบลงได้ด้วยดีนะครับ คดีนี้ความเสียหายหลายล้านบาทจริง ๆ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook