รศ. ดร.เจษฎา แสดงความเห็น "กินเต้าหู้แล้วเป็นนิ่วได้จริงหรือ?"

รศ. ดร.เจษฎา แสดงความเห็น "กินเต้าหู้แล้วเป็นนิ่วได้จริงหรือ?"

รศ. ดร.เจษฎา แสดงความเห็น "กินเต้าหู้แล้วเป็นนิ่วได้จริงหรือ?"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แสดงความคิดเห็นต่อข่าว แพทย์จีนผ่าตัดนำนิ่วในไตของคนไข้ออก 420 ก้อน ว่า ตามข่าวอ้างอิงอีกแหล่งกล่าวว่า คนไข้รับประทานเต้าหู้ แบบ Gypsum tofu คือใช้ยิปซัมในการตกตะกอนโปรตีนนมถั่วเหลืองให้กลายเป็นเต้าหู้ ซึ่งเต้าหู้ชนิดนี้เป็นอาหารยอดฮิตของคนท้องถิ่นที่มีแคมเซียมซัลเฟตอยู่ในปริมาณสูง และคนไข้มีนิสัยไม่ชอบดื่มน้ำ

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ แสดงความคิดเห็นต่อข่าว แพทย์จีนผ่านิ่วออกจากไตคนไข้รวมได้ 420 ก้อน ว่า ตามข่าวอ้างอิงจากสำนักข่าว Shanghaiist กล่าวว่า คนไข้รับประทานเต้าหู้ แบบ Gypsum tofu คือใช้ยิปซัมในการตกตะกอนโปรตีนนมถั่วเหลืองให้กลายเป็นเต้าหู้ ซึ่งเต้าหู้ชนิดนี้เป็นอาหารยอดฮิตของคนท้องถิ่นที่มีแคมเซียมซัลเฟตอยู่ในปริมาณสูง และคนไข้มีนิสัยไม่ชอบดื่มน้ำ

รศ.ดร.เจษฎา ยังแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "ทำไมกินเต้าหู้ แล้วถึงเป็นนิ่วได้? จริงๆ แล้วเพราะกินน้ำน้อยต่างหาก"

"ขอขยายความเรื่องนี้ หลังจากที่ไปคอมเม้นต์ในเพจของ VoiceTV หน่อย หลังจากที่เมื่อเช้ามีหลายเพจ ลงข่าวเรื่องผู้ป่วยชาวจีนผ่าก้อนนิ่วจากไต ได้ 400 กว่าก้อน (ดูรูปข้างล่าง) โดยที่พูดสั้นๆ ว่าคุณหมอลงความเห็นว่า เกิดจากการที่คนไข้กินเต้าหู้มากเกินไป... ทำเอาหลายคนหลังไมค์มาถาม ด้วยความกลัวว่าเต้าหู้ที่กินอยู่จะทำให้เป็นนิ่วได้หรือไม่

จริงๆ แล้วในรายละเอียดของข่าวนี้ จะพบว่าคนไข้จีนมีนิสัยเสียที่ "แทบไม่ดื่มน้ำเลย" และชอบ "กินเต้าหู้ทุกวัน" โดยที่เต้าหู้แบบจีนนั้น นิยมทำโดยใช้ผงยิปซั่ม (gypsum tofu) ในการตกตะกอนโปรตีนของน้ำนมถั่วเหลืองให้กลายเป็นก้อนเต้าหู้แบบเหลืองๆ นิ่มๆ ยิปซั่มก็คือแคลเซี่ยมซัลเฟต (calcium sulfate) เต้าหู้ชนิดอื่นๆ ที่แข็งกว่า อาจใช้ดีเกลือ หรือสารอื่นๆ แทนยิปซั่มในการตกโปรตีนทำเต้าหู้

นิ่วในไตนั้นอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่อาหาร กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม น้ำหนักตัว และปริมาณน้ำที่ดื่ม โดยเกิดการสะสมตัวของสารต่างๆ ซึ่งนิ่วจากแคลเซี่ยมนั้นพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะแคลเซี่ยมออกซาเลต (calcium oxalate) ตามข่าวนั้น คาดการว่าชายคนนั้นบริโภค "แคลเซี่ยม" มากเกินไป และขาดน้ำที่จะช่วยขับแคลเซี่ยมออกจากร่างกาย จึงนำไปสู่การเป็นนิ่วได้

แต่จริงๆ แล้ว แคลเซี่ยมในอาหารไม่ได้ไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่ว เพราะแคลเซี่ยมและออกซาเลตในอาหารจะจับกันเองในระบบทางเดินอาหาร ไม่ได้เข้าสู่กระแสเลือดและทางเดินปัสสาวะ เอาเข้าจริงๆ คนที่มีนิ่วแคลเซี่ยมออกซาเลต กลับจะต้องกินแคลเซี่ยมเพิ่มเข้าไปช่วยรักษาสภาพของกระดูกไว้ เช่น กินผลิตภัณฑ์นม ชีส โยเกิร์ต และเต้าหู้ (อ้าวว 55)

การป้องกันนิ่วในไต จึงเริ่มจากการดื่มน้ำให้พอเพียงก่อน (บางคนแนะนำให้เป็นน้ำส้ม น้ำมะนาวด้วย ซึ่งมีกรดซิตริกสูง) ลดการบริโภคเกลือโซเดียมและผงชูรส อาหารที่มีโปรตีนสูง และอาหารที่มีออกซาเลต (เช่น ผักโขม) ครับ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook