“กระจกตาโก่ง” อันตรายจากการขยี้ตา เสี่ยงตาพร่ามัว-ตาบอด

“กระจกตาโก่ง” อันตรายจากการขยี้ตา เสี่ยงตาพร่ามัว-ตาบอด

“กระจกตาโก่ง” อันตรายจากการขยี้ตา เสี่ยงตาพร่ามัว-ตาบอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าการนั่งทำงานในห้องแอร์ของคนเมืองท่ามกลางอากาศร้อนระอุกลางแจ้งภายนอกอาคารจะเป็นเรื่องที่ฟังดูสบายกว่าอาชีพใช้แรงงานอื่นๆ แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการใช้ชีวิตคนในเมืองที่มาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บชื่อแปลกๆ ที่เราไม่ค่อยคุ้นหู ไม่เคยได้ยินกันมาก่อน เหมือนอาการที่เรากำลังจะพูดกันต่อไปนี้ นั่นคืออาการ “กระจกตาโก่ง”

 

กระจกตาโก่ง เป็นภาวะที่พบว่ากระจกตามีรูปร่างแหลมออกมา แทนที่จะมีรูปร่างกลม หรือรีเล็กน้อยอย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุเป็นเพราะกระจกตาบริเวณตรงกลาง หรือค่อนมาทางด้านล่างเล็กน้อยบางลง จึงทำให้กระจกตาตรงกลางยื่นปูดออกมาด้านหน้าเป็นรูปกรวย

ทั้งนี้ อาการกระจกตาโก่ง จะไม่มีอาการหรือติดเชื้ออักเสบใดๆ ร่วมด้วยทั้งสิ้น

อาจจะสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้น อาการกระจกตาโก่งจะน่ากลัวอย่างไร มีอันตรายมากน้อยแค่ไหนถึงต้องออกมาเตือนกันอย่างนี้

กระจกตาโก่ง พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็ก วัยรุ่นที่มีแนวโน้มจะพบมากขึ้น อาการที่พบได้ชัดคือ เริ่มเห็นภาพพร่ามัว รวมไปถึงเห็นภาพบิดเบี้ยว ผิดรูปร่างไปจากภาพจริง บางรายอาจมีอาการเคืองตา แสบตา ตาสู้แสงไมได้ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่มีสายตาสั้น หรือเอียงค่อนข้างมาก ใส่แว่นก็ไม่ค่อยชัด ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ หลายๆ คนพบว่าตัวเองมีอาการกระจกตาโก่งเมื่อเข้ารับการตรวจค่าสายตาอย่างละเอียดเพื่อทำเลสิก

ความอันตรายของกระจกตาโก่งอยู่ที่ การพบว่ากระจกตาในส่วนที่โก่งนั้นมีความบางกว่าส่วนอื่น นานๆ เข้าจึงอาจพบว่ากระจกตามีการเรียงตัวที่ผิดไป ไม่สม่ำเสมอ จนนานเข้าอาจจะพบว่ากระจกตาฉีกขาด ซึ่งจะตามมาด้วยแผลเป็นที่เห็นเป็นฝ้าขาวชัดเจน สายตาก็จะมีความสั้น หรือเอียงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม บางรายอาจพบว่ามีกระจกตาที่บวมน้ำ ซึ่งมีอาการบวมของกระจกชั้นตาคล้ายผู้ป่วยโรคต้อหินเฉียบพลันได้อีกด้วย อาการเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการมองเห็นที่ลดน้อยลง มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเราแน่นอน

การรักษาอาการกระจกตาโก่ง เริ่มตั้งแต่การสวมแว่น หรือคอนแทคเลนส์เพื่อให้มองเห็นได้ชัด ในกรณีที่กระจกตาโก่งมากจนใส่คอนแทคเลนส์ได้ลำบาก อาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อจัดหาคอนแทคเลนส์พิเศษให้เหมาะกับกระจกตาของตัวเองโดยเฉพาะ หากกระจกตายังดีอยู่ แพทย์อาจทำการผ่าตัดสอดวงแหวนเข้าไปตรึงกระจกตาเพื่อบังคับไม่ให้กระจกตาโป่งออก ลดความโค้งของกระจกตาจนสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ สำหรับคนที่มีแนวโน้มว่ากระจกตาโก่งมากขึ้นเรื่อยๆ แพทย์อาจพิจารณาวิธีหยอดแช่กระจกตาด้วย ribroflavin ตามด้วยการฉายด้วยแสง UV เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อกระจกตา หรือในบางรายอาจใช้ทั้งสองวิธีผสมกัน หากมีอาการมากขึ้นอย่างรุนแรง อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งต้องรอรับบริจาคจากผู้อื่น ใช้เวลารอค่อนข้างนานราวๆ 3 ปี

 

การป้องกันอาการกระจกตาโก่ง

  1. ไม่กด ขยี้ดวงตาแรงเกินไป โดยเฉพาะผู้ที่อาการของโรคภูมิแพ้ อาจมีช่วงที่เผลอขยี้ตาบ่อยๆ การขยี้ตาแรงๆ บ่อยๆ ทำให้เส้นใยคอลลาเจนในดวงตาอ่อนแอลง จนทำให้ความดันในลูกตาสามารถดันกระจกตาให้โก่งขึ้นในลักษณะที่บิดเบี้ยว และเกิดการหักเหของแสงมากเกินไป

  2. ไม่ใช้สายตาหนักเกินไป หากเมื่อยล้าดวงตาเมื่อไร ให้ลองกลอกตาไปมา แต่ไม่แนะนำให้กด หรือนวดดวงตาโดยตรง

  3. ไม่ควรซื้ออาหารเสริมมารับประทานสุ่มสี่สุ่มห้า

  4. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของค่าสายตาสั้น และเอียงภายใน 1 ปี โดยค่าของสายตาไม่ควรเปลี่ยนมากกว่า 50-100 ภายใน 1 ปี หากมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้ ควรพบจักษุแพทย์โดยเร็ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook