วิธีดูแลฟันของผู้สูงอายุนอนติดเตียง ป้องกันแผลติดเชื้อในปาก

วิธีดูแลฟันของผู้สูงอายุนอนติดเตียง ป้องกันแผลติดเชื้อในปาก

วิธีดูแลฟันของผู้สูงอายุนอนติดเตียง ป้องกันแผลติดเชื้อในปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมการแพทย์ แนะนำผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต้องนอนติดเตียงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี เพื่อคงสุขภาพช่องปากที่ดีและป้องกันโรค และควรทำความสะอาดปากและฟันของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

นายแพทย์ณัฐพงศ์  วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวด กินอาหารได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอดติดเชื้อจากการสำลัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้  ดังนั้น การดูแลช่องปากอย่างดีจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อาจมีอาการกลืนลำบากหรือสำลักง่าย ต้องให้อาหารทางสายยางหรือใส่ท่อช่วยหายใจ ปากแห้ง มีแผลในปาก การทำความสะอาดปากและฟัน จึงต้องอาศัยเทคนิค หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟัน ของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1ครั้ง สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถทำได้โดยการดูแลเพื่อคงสุขภาพช่องปากที่ดีและป้องกันโรค ให้ผู้สูงอายุช่องปากสะอาดสดชื่น ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นป้องกันการเกิดแผล และลดการติดเชื้อในช่องปาก เช่น เชื้อรา ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น ฟันผุ ปริทันต์ การดูแลเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพช่องปาก โดยการช่วยบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้น และต่อมน้ำลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพการกลืน การพูด การแสดงความรู้สึกทางใบหน้า รวมถึงกระตุ้นการผลิตน้ำลาย

ทันตแพทย์บุญชู สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดูแลสุขภาพช่องปาก กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่ยังรับรู้ได้ การช่วยแปรงฟันต้องยกศีรษะผู้สูงอายุขึ้นเพื่อกันการสำลัก โดยให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน โดยอาจใช้หมอนหนุนบนเตียง หรือถ้าผู้สูงอายุศีรษะไม่นิ่ง ควรให้ผู้สูงอายุนั่ง ให้ศีรษะพิงผู้ดูแล ซึ่งยืนอยู่ด้านหลังก็ได้ ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ วิธีช่วยแปรงฟัน เริ่มด้วยการให้ผู้สูงอายุจิบน้ำเล็กน้อย เพื่อให้ช่องปากมีความชื้น ใช้แปรงสีฟันขนอ่อน และยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เล็กน้อย แปรงฟัน และเหงือกเบาๆ แปรงให้ครบทุกซี่ แต่ควรระวังอย่าใช้แปรงขนาดใหญ่ หรือสอดเข้าไปในด้านลำคอลึกเกินไปเพราะอาจทำให้อาเจียน ควรหยุดพักให้ผู้สูงอายุบ้วนน้ำลาย หรืออมน้ำเล็กน้อย ก่อนแปรงต่อ สลับการหยุดพัก 2-3 ครั้ง อาจใช้น้ำยาบ้วนปากชนิดผสมฟลูออไรด์ อมบ้วนปากกรณีที่มีฟันเหลืออยู่ในปาก เพื่อป้องกันฟันผุ สำหรับน้ำยาบ้วนปากแบบฆ่าเชื้อโรค ก่อนใช้ควรปรึกษาทันตแพทย์ 

นอกจากนี้ ควรดูแลริมฝีปากโดยเฉพาะมุมปากไม่ให้แห้งมีรอยแตกเป็นแผล โดยการทาวาสลินหลังการแปรงฟัน และหลังรับประทานอาหาร ถ้าช่องปากแห้งควรจิบน้ำอุ่น กรณีใส่ฟันปลอม ควรถอดทำความสะอาดทั้งฟันปลอมและช่องปากของผู้สูงอายุทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร ส่วนในกรณีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และไม่รับรู้ สามารถช่วยทำความสะอาดช่องปากได้ โดยใช้ไม้กดลิ้นเปิดช่องปากผู้สูงอายุ ใช้ปากคีบคีบผ้าก๊อส สำลี ที่ชุบน้ำหมาดๆ เช็ดฟัน ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มให้ทั่ว หรือใช้นิ้วพันผ้านุ่มชุบน้ำหมาด เช็ดในปากให้ทั่วก็ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook