แนะเลี่ยง 10 เมนูเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษช่วงฤดูร้อน

แนะเลี่ยง 10 เมนูเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษช่วงฤดูร้อน

แนะเลี่ยง 10 เมนูเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษช่วงฤดูร้อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมควบคุมโรค ห่วงประชาชนป่วยโรคอาหารเป็นพิษช่วงเทศกาลสงกรานต์ หลังอากาศที่ร้อนต่อเนื่อง แนะหลีกเลี่ยง 10 เมนูอาหารเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ และยึดหลัก "สุก ร้อน สะอาด" รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการปรุงสุกๆดิบๆ หากอาหารมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กลาวว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงฤดูร้อน ทำให้ประชาชนต่างเริ่มป่วยด้วยโรคจากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคมากขึ้น เนื่องจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารอาจเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย ประกอบกับใกล้เข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนมักจะซื้ออาหารหรือน้ำดื่มจากนอกบ้านมารับประทานร่วมกันเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาล ซึ่งอาจมีเมนูอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารหรือทำให้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษได้

ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 เมษายน 2560 พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 37,312 ราย ไม่พบรายผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15 - 24 ปี รองลงมาอายุ 25 - 34 ปี และ 45 - 54 ปี ซึ่งพบการกระจายทั่วทุกภูมิภาค โดยส่วนใหญ่กระจายอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

ทั้งนี้ ในเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนจะเฉลิมฉลองด้วยเครื่องดื่มและรับประทานอาหารร่วมกันของคนในครอบครัว อาหารที่ประชาชนควรระมักระวังเป็นพิเศษได้แก่ 

1. ลาบ/ก้อยดิบ 

2. ยำกุ้งเต้น 

3. ยำหอยแครง/ยำทะเล 

4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู

5. อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด

6. ขนมจีน

7. ข้าวมันไก่

8. ส้มตำ

9. สลัดผัก

10. น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงหลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ 

นอกจากนี้ อาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และควรรับประทานภายใน 2- 4 ชั่วโมงหลังจากปรุงเสร็จ และหากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน

สำหรับผู้เดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล ควรเลือกร้านที่แน่ใจว่าสะอาดหรือมีเครื่องหมายรับรองความปลอดภัย เลือกรับประทานน้ำดื่ม หรือน้ำแข็งที่มีคุณภาพ สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ในส่วนอาหารที่ปรุงประกอบไว้นานแล้ว ขอให้สำรวจอาหารก่อน หากมีกลิ่น รส หรือรูปเปลี่ยนไป ไม่ควรรับประทานต่อ อาหารที่ไม่เปลี่ยนแปลงควรอุ่นอาหารให้ร้อนก่อนรับประทาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook