นักวิทยาศาสตร์ตะลึง! ยีนเชื้อโรคดื้อยาแพร่จากสัตว์สู่คนเร็วเกินคาด

นักวิทยาศาสตร์ตะลึง! ยีนเชื้อโรคดื้อยาแพร่จากสัตว์สู่คนเร็วเกินคาด

นักวิทยาศาสตร์ตะลึง! ยีนเชื้อโรคดื้อยาแพร่จากสัตว์สู่คนเร็วเกินคาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยาปฏิชีวินะโคลิสติน (Colistin) ถือว่าเป็นยาปฏิชีวนะตัวสุดท้ายที่ใช้รักษาผู้ป่วย ในกรณีที่ยาชนิดอื่นๆ ล้มเหลวไปหมดเเล้ว 

ศาสตราจารย์ ฟรานซัว บัลลู (Francois Balloux) หัวหน้าการวิจัยและผู้อำนวยการของสถาบันพันธุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน กล่าวว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้ได้กลายเป็นยาชนิดสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดในการช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วย เมื่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ มีประสิทธิภาพลดลง

ศาสตราจารย์บัลลู กล่าวว่า ในอดีต ยาโคลิสตินเคยใช้ในการรักษาโรค เเต่กังวลกันเรื่องความเป็นพิษเเละผลข้างเคียงต่อร่างกาย เเต่นิยมใช้กันในการเลี้ยงปศุสัตว์ในฟาร์มหมูเเละไก่

เเต่มาในปัจจุบัน เราขาดแคลนยาปฏิชีวินะที่มีประสิทธิภาพ วงการแพทย์จึงหันมาใช้ยาโคลิสตินรักษาโรคกันมากขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วง 5–10 ปีที่ผ่านมา และมาถึงตอนนี้ เเม้เเต่ยาปฏิชีวนะโคลิสตินเองก็เริ่มมีประสิทธิภาพน้อยลงในการรักษาเชื้อโรคดื้อยา หรือ "ซูเปอร์บั๊ก"

ศาสตราจารย์บัลลู กล่าวว่า พบพันธุกรรมเชื้อโรคดื้อต่อยาตัวหนึ่งที่แพร่มาจากหมูในฟาร์มเลี้ยงในประเทศจีน เเล้วระบาดอย่างรวดเร็วมากไปทั่วโลกสู่สัตว์ชนิดอื่นๆ เเละในขณะนี้ พบพันธุรรมกลายพันธุ์ของเชื้อโรคดื้อยาสำคัญๆ หลายชนิดในโรงพยาบาลเเล้ว เเละอาจพบในทุกหนทุกแห่งทั่วโลก

ในขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางเสริมประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ รวมทั้ง ยาโคลิสติน ให้มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคดื้อยาได้ดีขึ้น

ในระยะยาว ทีมนักวิจัยเชื่อว่าจำเป็นต้องลงทุนมากขึ้นเพื่อพัฒนายาตัวใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการทบทวนวิธีใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงปศุสัตว์เเละในการรักษาโรคของคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook