“รากฟันเทียม” คืออะไร? ช่วยแก้ไขปัญหาฟันได้อย่างไรบ้าง?

“รากฟันเทียม” คืออะไร? ช่วยแก้ไขปัญหาฟันได้อย่างไรบ้าง?

“รากฟันเทียม” คืออะไร? ช่วยแก้ไขปัญหาฟันได้อย่างไรบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมัยก่อนหากฟันแท้ของเรามีปัญหา ไม่ว่าจะฟันผุมากจนต้องถอนฟันทิ้ง หรือฟันหลุดจากการประสบอุบัติเหตุ เราอาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไปตลอดกาล และอาจทดแทนด้วยฟันปลอมที่แม้จะพอใช้งานในการเคี้ยวอาหารได้บ้าง แต่ก็ไม่เหมือนฟันเดิมอย่างแน่นอน ข่าวดีของคนสมัยนี้คือ เรามี “รากฟันเทียม” ที่จะช่วยให้เรามีฟันที่ใช้การได้ใกล้เคียงกันฟันจริงมากที่สุด และบำรุงรักษาง่าย ไม่ยุ่งยากเท่าฟันปลอม

 

รากฟันคืออะไร?

ผศ.ทพ.สุรกิจ วิสุทธิวัฒนากร ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง อธิบายถึงรากฟันว่า ฟันแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนที่ฝังเข้าไปในกระดูกเรียกว่ารากฟัน

  2. ส่วนที่ต่อยอดขึ้นจากรากเหนือกระดูกเรียกว่าแกนฟัน

  3. ครอบฟัน ซึ่งจะครอบอยู่บนแกนเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงของฟัน

 

ทำไมเราถึงต้องทำ “รากฟันเทียม”?

การดูแลรากฟันแท้มีข้อจำกัดนอกเหนือจากการดูแลปากและฟันให้สะอาดด้วยการแปรงฟัน เพราะถึงแม้เราจะดูแลรักษาความสะอาดฟันเป็นอย่างดีแล้ว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น ฟันแตกจากการบดเคี้ยว ฟันแตกจากอุบัติเหตุ หรือแม้แต่กรณีที่เกิดมาแล้วไม่มีฟันในซี่นั้นๆ หรืออาจจะจัดฟันแล้วเกิดช่องว่างจำเป็นต้องมีฟันเพิ่มเติม เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการสร้าง “รากฟันเทียม” ขึ้นมาทดแทนรากฟันจริง

รากฟันเทียม คือวัสดุทางทันตกรรมที่มีไว้สำหรับทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป โดยจะเป็นวัสดุที่ปลูกฝังเข้าไปในกระดูกส่วนที่เคยมีฟันแท้อยู่ ซึ่งรากฟันเทียมจะทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับต่อยอดขึ้นมาเป็นตัวฟันที่นำมาครอบบนแกนของรากเทียมอีกชั้นหนึ่ง ทำให้เราสามารถใช้ฟันบดเคี้ยวได้ หรือหากเป็นฟันหน้าที่เสียหายไปรากฟันเทียมจะช่วยทำให้คนไข้กลับมามีฟันที่มีความใกล้เคียงกับฟันแท้ที่สูญเสียไปได้

 

ใครที่เหมาะกับการใส่รากฟันเทียม

อันที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่จะสามารถใส่รากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันที่หายไปได้ แต่อาจจะมีบางรายที่แพทย์พิจารณาว่าอาจเป็นอันตราย หรือมีวิฑีอื่นที่อาจได้ผลดีกว่า เช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ กำลังรับประทานยาที่จำกัดทางเลือก มีกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ หรือเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีความเสี่ยงที่รากฟันเทียมจะหลวม และต้องถูกถอดออก ดังนั้นก่อนใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจสุขภาพปาก และฟันโดยละเอียด เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการใส่รากฟันเทียม และหาวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาฟัน

 

ชนิดของรากฟันเทียม

ผศ.ร.ท.ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่ง ระบุว่า ปัจจุบันรากฟันเทียมมีให้เลือกหลากหลาย มีตั้งแต่ผลิตในประเทศ   ผลิตต่างประเทศ โดยจะใช้โลหะไทเทเนียมเป็นวัสดุหลักในการทำรากฟันเทียม ซึ่งเป็นวัสดุที่ดีที่สุดในการทำเครื่องมือแพทย์ แต่ปัจจัยที่ทำให้ราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับนวัตกรรมต่างๆ กระบวนการผลิต ที่ละเอียดอ่อน รวมถึงกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ขั้นสูง

รากฟันเทียมแบ่งออกเป็น  ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. รากฟันเทียม 1 ซี่

หมายถึง รากฟันเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู 1 ตัว และฟัน 1 ซี่ ใช้สำหรับทดแทนฟันที่หายไปจำนวน 1 ซี่ โดยไม่ต้องกรอฟันซี่ข้างๆ เหมือนกับการใส่สะพานฟัน (ฟันปลอมชนิดหนึ่งที่ใช้วิธีติดฟันปลอมกันฟันซี่ข้างๆ ด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรม) ฟันที่ได้จะมีลักษณะเหมือนฟันปกติทั่วไป บดเคี้ยวอาหารได้ ใช้ไหมขัดฟันได้ ทำความสะอาดได้ตามปกติ และยังมีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

 

  1. รากฟันเทียมหลายซี่

ในกรณีที่ต้องฟันหายไปหลายซี่ติดกัน (ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2-3 ซี่) จะมีการใส่รากฟันเทียมที่ซี่แรกกับซี่สุดท้าย แล้วยึดรากฟันเทียมเข้ากับส่วนกระดูกใต้เหงือก (ฟันซี่กลางอาจไม่ต้องใส่รากฟันก็ได้) ยังถือว่าเป็นการทดแทนฟันจริงที่ใกล้เคียงกับฟันจริงมากกว่าสะพานฟันเหมือนเดิม

 

  1. รากฟันเทียมทั้งปาก

สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันเป็นจำนวนมาก การใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ทั้งปากอาจฟังดูสะดวกสบาย แต่ในระยะยาวการที่ไม่มีรากฟันยึดกระดูกใต้เหงือกเอาไว้ อาจทำให้กระดูดขากรรไกรตรงส่วนที่ไม่มีฟันค่อยๆ ละลาย หรือหดตัวลงได้ ฟันปลอมอาจไม่สามารถยึดติดกับเหงือกบริเวณนั้นได้ดังเดิม นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไป รูปหน้าอาจจะเปลี่ยนได้ ดังนั้นการใส่รากฟันพร้อมครอบฟันหลายซี่ในคราวเดียวกันทั้งปาก จะช่วยรักษาโครงหน้าเดิมเอาไว้ได้ และให้ฟันที่แข็งแรง ดูแลรักษาง่าย เสมือนฟันจริงมากที่สุด

 

  1. รากฟันเทียมแบบทันที

หมายถึง รากฟันเทียมที่มาพร้อมฟัน หรือแบบพร้อมใส่ครอบฟันทันทีหลังจากถอนฟัน ปกติแล้วการใส่รากฟันเทียมจะต้องนัดวันตรวจฟัน ถอนฟัน ใส่รากฟัน แล้วค่อยนัดมาครอบฟันคนละวัน แต่ในกรณีที่เป็นฟันแตก บิ่น หรือหัก ที่มีความจำเป็นต้องถอนฟัน โดยไม่ได้มีอาการฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีอาการอักเสบติดเชื้อใดๆ และกระดูกที่รองรับฟันสามารถใช้งานได้ทันที สามารถใช้รากฟันเทียมแบบมาพร้อมฟัน แล้วรากฟันได้ทันทีหลังถอนฟัน ไม่ต้องเสียเวลารออีกหลายวัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับวิธีที่ดีสุดในการเลือกรากฟันเทียมคือ ศึกษาหาข้อมูลของรากฟันเทียมแต่ละยี่ห้อ และปรึกษาทันตแพทย์ ซึ่งทันตแพทย์จะเลือกรากฟันเทียมที่เหมาะสมให้คนไข้แต่ละคนได้ดีที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทุกคนสามารถเข้ารับการเปลี่ยนรากฟันเทียมได้ แต่สำหรับคนไข้อายุน้อย ทันตแพทย์จะไม่แนะนำ หากมีการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมให้กับเด็กที่ร่างภายยังมีภาวะการเติบโต ฟันซี่ใหม่ที่งอกขึ้นมาอาจเบียดกับรากฟันเทียมซึ่งไม่สามารถขยับได้เหมือนกับฟันจริง ทำให้ฟันผิดรูปหรือผิดระดับได้ และสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพ ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัด หรือต้องรับประทานยาบางชนิดที่มีผลกับการผ่าตัดก็เป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนรากฟันเทียมได้

 

การดูแลรักษารากฟันเทียม

ใครที่มีความจำเป็นจะต้องใส่รากฟันเทียม ควรเลือกทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดเปลี่ยนรากฟันเทียมโดยเฉพาะ เลือกใช้รากฟันเทียมคุณภาพสูง และดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังการบดเคี้ยวด้วยการเลี่ยงการบดเคี้ยวของแข็งมากๆ เพื่อช่วยรักษารากฟันเทียมให้ยืนยาว

 

ไม่ใส่รากฟันเทียม ก็ต้องดูแลรักษาฟันปลอม และฟันแท้ให้ดี

คนที่ไม่ต้องเปลี่ยนรากฟันเทียมก็ควรดูแลรักษาความสะอาดของช่องปาก และฟันให้ดีที่สุด เมื่อฟันสะอาด ไม่เกิดฟันผุ ไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบ ฟันแข็งแรง รากฟันก็แข็งแรงด้วยเช่นกัน หากมีความจำเป็นไม่ต้องการเปลี่ยนรากฟันเทียม ยังสามารถเลือกใช้วิธีใส่ฟันปลอม หรือทำสะพานฟันแทนได้ แต่ทั้งสองอย่างก็จะมีข้อเสีย ที่นอกจากความรำคาญในการถอดเข้า-ออกของฟันปลอมแล้วนั้น อาจทำให้เหงือกอักเสบ ฟันข้างเคียงผุ และการบดเคี้ยวอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพออีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook