โทษของการกินอาหาร “รสจัด”...แต่ถ้าไม่อยากจบที่ “รสจืด” ต้องรู้วิธีเลี่ยง!

โทษของการกินอาหาร “รสจัด”...แต่ถ้าไม่อยากจบที่ “รสจืด” ต้องรู้วิธีเลี่ยง!

โทษของการกินอาหาร “รสจัด”...แต่ถ้าไม่อยากจบที่ “รสจืด” ต้องรู้วิธีเลี่ยง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     คนที่หลงรักและมีความสุขนักกับการกิน เคยพูดไว้ว่า “จะอยู่อย่างไร เมื่อโลกไร้รสชาติ” รสชาติอาหารที่ถูกปากคืออรรถรสแห่งชีวิต เพียงได้ชิมก็เหมือนได้ยิ้มรับความสุข แต่แน่นอนว่า “ความอร่อย” ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี “อาหารรสจัด” แม้โดนใจ แต่ร่างกายอาจไม่ชอบ!

     รสชาติเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ขม หรือรสเผ็ด ล้วนมีประโยชน์กับสุขภาพและกระตุ้นให้เราอยากอาหาร บางคนขอแค่ได้เติมพริกน้ำปลาอาหารตรงหน้าก็อร่อยขึ้น ร่างกายเรารับรู้รสชาติได้จากปุ่มรับรสที่ลิ้น มีเซลล์มากมายทำหน้าที่แยกรสชาติ เซลล์พวกนี้มีอายุอยู่แค่ 7 วัน หลังจากนั้นก็เสื่อมลง ยิ่งแก่เซลล์ยิ่งเหลือน้อย สังเกตดู.. คนแก่มากๆ ท่านจะไม่ค่อยรู้รสอาหารเท่าไหร่ สำหรับวัยหนุ่มสาว ถึงลิ้นจะยังดีพร้อมแฮปปี้กับทุกรสชาติ ก็ต้องระวัง อย่าอร่อยเพลินจนเกินร่างกายจะรับไหว เพราะอาหารที่มีรสจัดเกินไปให้โทษ มีอะไรบ้าง ตามมาดู!!

     รสเผ็ด อาหารรสเผ็ด นอกจากกินแล้วแซบตาตื่น ปลุกความสดชื่นในตัวคุณ ยังช่วยให้ปอดและลำไส้ทำงานปกติ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยขับเหงื่อ ขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ และยังช่วยร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้น โทษของ “รสเผ็ด” คือถ้าเผ็ดไป ก็จะระคายเคืองกระเพาะอาหาร

     รสเปรี้ยว เรียกน้ำย่อย เรื่องนี้เห็นทีจะจริง เพราะความเปรี้ยวช่วยกระตุ้นการทำงานของตับและถุงน้ำดีให้ปล่อยน้ำย่อย ช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้ดี ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟันและเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่โทษก็มีเช่นกัน คือ ทำให้ท้องเสีย ร้อนใน และมีผลกับระบบน้ำเหลืองจนทำให้แผลหายช้า

     รสหวาน เมื่อร่างกายได้ความหวานจะรู้สึกสดชื่นมีแรงขึ้นมาก แต่อันตรายที่แฝงก็มากตามไปด้วย เพราะการกินหวานมากไป แต่ไม่ออกกำลังกายอาจทำให้ อ้วน ทั้งยังเป็นสาเหตุของความรู้สึก ง่วงนอนและขี้เกียจ สำหรับคนที่มี เสมหะในลำคอ บ่อยๆ สังเกตได้เลยว่ามักเป็นคนที่กินรสหวานจัด และแน่นอนว่าจากสถิติที่ผ่านมา คนกินรสหวานมักเสี่ยงเป็น “เบาหวาน” เพราะเมื่อกินอาหารรสหวานเข้าไปมากๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขาดความสมดุล ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมามากกว่าปกติเพื่อกำจัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ยิ่งถ้าเป็นเบาหวานอยู่แล้ว และกินหวานเข้าไปอีก ก็จะยิ่งให้ตับอ่อนทำงานหนักและเป็นอันตราย นอกจากนี้ความหวานยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคไต มากขึ้นด้วย

     รสเค็ม แน่นอนว่าต้องมีทั้งดีและแย่ ประโยชน์ของรสเค็ม โซเดียมที่ร่างกายได้รับจะทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ระดับปกติ ช่วยควบคุมระดับความเป็นกรดและด่างของเลือด ส่วนโทษ คือ เมื่อเราได้รับโซเดียมจากเกลือและสะสมจนสูงกว่าปกติ ร่างกายจะพยายามขับออกทางปัสสาวะ ยิ่งบ่อยก็ยิ่งคอแห้ง หิวน้ำตลอดและร้อนใน คนที่เป็นมากๆ อาจถึงขั้นภาวะขาดน้ำได้เลย ที่สำคัญกินเค็มมาก โซเดียมในเลือดมาก ก็จะทำให้เลือดไหลเวียนช้าจนกลายเป็น “ความดันโลหิตสูง”

     กิน รสจัด ไม่ดี แต่กิน รสจืด ก็ไม่ถูกใจทำยังไงดี? บอกเลยว่าทางออกของคนชอบกิน หลงใหลในอาหารสจัดและยังอยากสุขภาพดี คือการเลือกเครื่องปรุงลดโซเดียมและน้ำตาล เช่น เครื่องปรุงรส ตรา กู๊ดไรฟ์ ที่พัฒนาสูตรโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือโซเดียม ทำให้รสชาติความเค็มยังที่ความอร่อยดีคงเดิม และยังใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล นักชิมทั้งหลายจึงวางใจได้ว่าปรุงอาหารรสชาติโปรดได้เหมือนเดิม โดยสูตรนี้สามารถลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลได้ถึง 40-60% ดีกับคนรักสุขภาพ เหมาะที่จะนำไปปรุงอาหารอาหารคลีน ไม่ทำลายสุขภาพ และดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เรียกว่ากินอาหารรสถูกปากได้สุขภาพดีด้วย สั่งซื้อเครื่องปรุงลดโซเดียมและน้ำตาล ได้ที่ www.goodlifeforyou.com


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook