ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

         ‘ผัก’ ไม่ว่าจะเป็นผักชนิดใดก็ตาม ถือว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี แต่ทว่าความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดการเร่งผลิต ‘ผัก’ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค การหันมาใช้สารเคมีของเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิต และให้คงสภาพอยู่ได้นานนั้น ส่งผลให้ ‘ผัก’ ไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร

“ผักปลูกเอง ปลอดภัยแน่”

          ชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรเมือง เครือข่ายสวนผักคนเมือง บอกเล่าถึงการปลูกผักในปัจจุบันว่า เดี๋ยวนี้เกษตรกรปลูกผัก จะใช้สารเคมีตั้งแต่การเตรียมดินปลูกแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก หากต้องการบริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารเคมีแน่นอน สามารถทำได้โดยการ ‘ปลูกผักกินเอง’ ซึ่งต้องเริ่มใส่ใจตั้งแต่การเตรียมดินหากดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ผักก็จะเติบโตเต็มที่

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี thaihealth

       “ผักที่ ปลอดภัยมี 2 อย่างคือ ‘ผักที่คุณรู้ว่าใครปลูก และ ผักที่คุณปลูกเอง’ ซึ่งแน่นอนว่าในชุมชนเมืองมักเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าผักที่เรากินใครปลูก แต่เราเป็นผู้บริโภคสามารถเลือกได้

อย่างการ เลือกปลูกผักกินเอง แม้ว่าพื้นที่ที่อยู่อาศัยจะน้อย แต่สามารถปลูกในภาชนะรีไซเคิลได้ อย่างเช่น ขวดน้ำพลาสติก แก้วน้ำพลาสติก ถังหรือกระป๋องนม เป็นต้น” เกษตรกรเมือง แนะนำ

      เกษตรกรเมือง คนเก่ง แนะนำเรื่องการปลูกผักว่า ผมจะเน้นย้ำเรื่องการเตรียมดินสำหรับปลูกผักเสมอ ซึ่งดินต้องมีอาหารที่เพียงพอต่อการเติบโตของผัก และเราสามารถใช้ปุ๋ยธรรมชาติได้ นั่นคือ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ต่างๆ นำมาคลุกกับดิน และพักไว้ เพียงเท่านี้ดินก็มีสารอาหารเพียงพอ พร้อมใช้ปลูกผักได้แล้ว

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี thaihealth

“เลือกผักตามฤดูกาล ล้างผักทุกครั้งก่อนกิน”

      สำหรับคนเมือง แน่นอนว่าไม่สามารถปฏิเสธการซื้อผักจากตลาดได้ และเป็นเรื่องยากที่จะรู้แหล่งที่มารวมถึงการไปซื้อผักจากแหล่งเพาะปลูกโดย ตรง คุณป้าวรนุช ทองเย็น เกษตรกรภาษีเจริญและภาคีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร แขวงคลองขวาง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ

      ได้บอกถึงผลสำรวจของกรมวิชาการเกษตรว่า ได้สุ่มตรวจผักกว่า 50 ชนิด พบ  8 ชนิด ที่มีสารเคมีเยอะสุดคือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ-มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา การเลือกบริโภคผัก จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งคุณป้าวรนุช ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

1. ควรรู้จักแหล่งที่มาของผักที่ซื้อ ควร มีการรับรองแหล่งที่ปลูก หรือผู้บริโภคควรรู้จักแหล่งที่ปลูกผัก และอีกหนึ่งวิธีคือ การปลูกผักกินเอง คนเมืองสามารถทำได้แม้มีพื้นที่จำกัด ซึ่งผักที่ปลูกได้ง่ายมีทั้ง คื่นฉ่าย โหระพา  กะเพรา พริกขี้หนู ผักบุ้ง เป็นต้น จะใช้กระถาง กะละมังที่ผุพังปลูกผักก็ได้

2. ผักมีรูพรุนใช่ว่าจะปลอดภัยเสมอไป ตาม หลักความเป็นจริงของการปลูกผัก เพราะอาจเกิดจากการฉีดยาฆ่าแมลงหลายครั้งแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงได้ การดมกลิ่นเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้ หากผักมีกลิ่นฉุนรุนแรง แสดงว่าผักมีสารเคมีปนเปื้อนอยู่

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี thaihealthผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี thaihealth

3. กินผักให้ถูกต้องตามฤดูกาล เป็นวิธีที่เหมาะสมมาก เพราะผักที่ปลูกตามฤดูกาลสภาพอากาศจะเอื้ออำนวยกับการเติบโตของผัก ทำให้มีการฉีดยาฆ่าแมลงน้อย อย่างเช่น ฤดูร้อน สามารถกินชะอม ถั่วพู ถั่วฝักยาว แต่ไม่ควรกินผักคะน้า กวางตุ้ง คื่นฉ่าย แต่ฤดูหนาวสามารถกินคะน้า บล็อกโคลี่ได้ ส่วนฤดูฝน สามารถกินได้เกือบทุกชนิด แต่ควรระวังสารเคมีตกค้างจาก ยากันเชื้อรา
    เพราะฉะนั้น ควรล้างผักก่อนกินทุกครั้ง นอกจากนี้ควรหันมาบริโภคผักพื้นบ้านให้มากขึ้นเพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง อย่างเช่น ตำลึง กระถิน หัวปลี สะเดา ผักกูด เป็นต้น

4. การล้างผักเป็นวิธีที่ลดสารพิษในผักลงได้ วิธี ล้างผักที่ควรทำคือ ล้างผักในน้ำไหลจากก๊อกก่อนทุกครั้ง และค่อยแช่ผัก ไม่ควรแช่ผักในอ่างล้างทันที หากน้ำที่ล้างมีกลิ่นเหม็นฉุน แสดงว่าผักที่ซื้อมามียาฆ่าแมลงปนเปื้อนอยู่

นอกจากนี้ทาง เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (www.thaipan.org) ได้ให้คำแนะนำในการล้างผักผลไม้สำหรับประชาชนที่สามารถลดสารเคมีให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ มี 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ผักปลอดภัย กินได้ ดูอย่างไรดี thaihealth

www.thaipan.org

1.ล้างด้วยน้ำไหลเพื่อขจัดคราบของดิน สิ่งสกปรก แบคทีเรีย และเชื้อต่างๆ ตลอดจนสารพิษบางส่วน

2.แช่ผักและผล ไม้ในน้ำส้มสายชู นาน 10-15 นาที ถ้าไม่มีน้ำส้มสายชูก็อาจใช้น้ำด่างทับทิมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตอย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ แต่ประสิทธิภาพจะน้อยกว่าการใช้น้ำส้มสายชู

3.ล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำไหลเพื่อชะล้างน้ำส้มสายชู และสารเคมีบางส่วนออก

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมเลือกและสังเกตผักทุกครั้งก่อนซื้อ เพื่อความปลอดภัย และยังเป็นการสนับสนุนการปลูกผักปลอดสารพิษของเกษตรกรไทยอีกด้วยนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook