4 สัญญาณเสี่ยงโรค “เส้นเลือดหัวใจตีบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

4 สัญญาณเสี่ยงโรค “เส้นเลือดหัวใจตีบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

4 สัญญาณเสี่ยงโรค “เส้นเลือดหัวใจตีบ” ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน เทรนด์สุขภาพ การออกกำลังกาย กำลังมาแรง แต่โรคภัยที่อินเทรนด์พอ ๆ กัน และเป็นสาเหตุ ของโรคหัวใจที่คนไทยเป็นมากที่สุดคือ หลอดเลือดหัวใจตีบ 

 

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดหัวใจ และการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย จึงทำให้มีอัตราเสียชีวิตสูง และต้องการ การรักษาอย่างเร่งด่วนเฉียบพลัน

สถิติผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 150 ต่อวัน หรือปีละ 54,530 คน สถิติผู้เสียชีวิต ทั่วโลกอยู่ที่ 17.7 ล้าน คนต่อปี และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับแรกๆ ของคนไทยซึ่งมีสาเหตุหลักจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตสุ่มเสียงหรือจากพันธุกรรม 

 

คนกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ?

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ในช่วงวัยเจริญพันธุ์พบโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายได้สูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากวัยหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิง และผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน

 

4 สัญญาน เสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจตีบควรปรึกษาแพทย์ 

  1. เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงหรือออกกำลัง

  2. เจ็บแน่นหน้าอกเมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้นหรือเมื่อมีความเครียด ในผู้หญิงมักไม่ค่อยพบมีอาการนี้ อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขนด้านใดก็ได้แต่มักเป็นด้านซ้าย

  3. อาการของโรคหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว มีอาการบวมหน้า แขน ขา

  4. มีความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง

 

 

วิธีดูแลป้องกันให้ไม่ป่วยด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

นายแพทย์ ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวถึงวิธีดูแล ป้องกันก่อนป่วยว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบนี้ มักไม่แสดงอาการเมื่อเริ่มเป็นโรค หรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก ฉะนั้นวิธีป้องกันและดูแลหัวใจที่ดีที่สุดคือ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การออกกำลังกาย และจัดการความเครียด จำกัดอาหารไขมัน กินอาหารมีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมโรคต่างๆ ที่เป็น สาเหตุปัจจัยเสี่ยงเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป”  

การปรับวิถีการใช้ชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ ยังเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องการออกกำลังกายต้องระมัดระวัง ตามสุขภาพร่างกาย กินยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ เช่น ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดไขมันในเลือด แพทย์อาจวินิจฉัยการขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคต่างๆ และอาจเป็นการผ่าตัด หลอดเลือดหัวใจ นอกจากนั้นผู้ป่วยต้องพบแพทย์ตรงตามนัดเสมอ และเมื่อมีอาการผิดปกติ ไปจากเดิม ควรรีบไปพบแพทย์ ที่สำคัญเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกมาก อาจเจ็บร้าวขึ้นขากรรไกร ไปยังหัวไหล่ หรือแขน เหนื่อย หายใจขัด ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว เหงื่อออกมาก วิงเวียนจะเป็นลม หยุดหายใจ หรือโคม่า ให้รีบไปพบแพทย์ หรือไปโรงพยาบาลเป็นการฉุกเฉิน 

 

นวัตกรรม TAVI คืออะไร?

โรคลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ตีบ อาจเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิต หากไม่ได้รับ การรักษาและ นวัตกรรม TAVI คือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ด้วยสายสวนลดความเสี่ยงการผ่าตัด

 

รศ.นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ ผู้อำนวยการศูนย์ศัลยศาสตร์หลอดเลือดและทรวงอก โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ข้อมูลเรื่อง โรคลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ตีบว่า เป็นโรคทางหัวใจที่ทำให้ ลิ้นหัวใจเออร์ติก เปิดได้ไม่เต็มที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักกว่าปกติ เพื่อให้สูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้เท่าเดิม  

ปัจจุบันช่วงอายุของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบที่พบอยู่ในช่วงวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุเนื่องจากมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ทั้งเรื่องของอาหาร อารมณ์ ความเครียด ในขณะเดียวกันคนไข้อายุมากมักมีโรคร่วมต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไตวาย อัมพาต เบาหวานทำให้ความยุ่งยาก ในการรักษาโรคหัวใจมากขึ้น และอันตรายจากโรคนี้ก็สูงขึ้นด้วย

 

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมทางสายสวน หรือ TAVI เป็นนวัตกรรมทางเลือกนอกเหนือจากการผ่าตัด เปิดช่องอก ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบรุนแรงของลิ้นหัวใจเออร์ติกส์ ส่วนใหญ่การตีบมักเกิด จากความเสื่อม ของลิ้นหัวใจที่มักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ หรือมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยหลายโรค ทำให้สภาพ ร่างกายไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องดมยาสลบ และการใช้เครื่องปอดและ หัวใจเทียมระหว่าง ผ่าตัดได้ วิธีการนี้จะช่วยต่อ ชีวิตผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ให้ยืนยาวและมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook