ทีมหมูป่าต้องระวัง "Refeeding Syndrome" ภาวะอันตรายจากการทานอาหารหลังอดอาหารมานาน

ทีมหมูป่าต้องระวัง "Refeeding Syndrome" ภาวะอันตรายจากการทานอาหารหลังอดอาหารมานาน

ทีมหมูป่าต้องระวัง "Refeeding Syndrome" ภาวะอันตรายจากการทานอาหารหลังอดอาหารมานาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าผู้ประสบภัยที่อดอาหารมานานหลายวันจะบ่นว่าหิวมาก แต่ทีมแพทย์จะไม่สามารถให้ผู้ป่วยทานอาหารตามปกติได้เลยในทันที เพราะผู้ป่วยอาจเสี่ยงภาวะ Refeeding Syndrome ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 >> เกาะติด “ข่าวถ้ำหลวง” ภารกิจค้นหานักบอลและโค้ช 13 คน

 

Refeeding Syndrome คืออะไร?

Refeeding Syndrome หมายถึง ภาวะอันตรายที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารเป็นเวลานานทานอาหารตามปกติทันที หรือทานอาหารมากเกินไป (เช่น ข้าวสุก ขนมปัง อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง การถูกให้น้ำเกลือที่มี dextrose หรือน้ำตาลกลูโคสที่ให้พลังงานแก่ร่างกายสูง รวมไปถึงการถูกให้อาหารทางสายยาง ทางหลอดเลือดต่างๆ) จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อันตรายที่เกิดขึ้น มีได้ตั้งแต่การกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กโทรไลต์เข้าสู่เซลล์อย่างรวดเร็ว จนทำให้ระดับโพแทสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสในเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับสมดุลน้ำและโซเดียมที่ผิดปกติไป และยังทำให้ระดับวิตามินบี 1 ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการเคลื่อนเข้าเซลล์เพื่อใช้ในกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย จนผู้ป่วยเหล่านี้อาจเกิดความผิดปกติของระบบสมดุลการไหลเวียนเลือด และระบบประสาท รวมถึงกล้ามเนื้อ ตลอดจนมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ จนอาจเสียชีวิตได้

 

กลุ่มเสี่ยง Refeeding Syndrome

นอกจากผู้ประสบภัยต่างๆ ที่ทำให้ต้องอยู่ในภาวะขาดอาหารเป็นเวลานานแล้ว ยังรวมถึงผู้ป่วยเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งที่ทำให้น้ำหนักลดอย่างหนัก ร่างกายซูบผอม รวมไปถึงผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทานน้อยๆ เป็นเวลานานๆ อีกด้วย

 

วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย Refeeding Syndrome

  1. แพทย์ควรตรวจระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด รวมถึงฟอสฟอรัส และแมกนิเซียมก่อน เพื่อเช็กดูค่าเหล่านี้ในเลือดให้ดี

  2. คำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสม แล้วค่อยๆ เริ่มให้สารอาหารที่เป็นวิตามิน และเกลือแร่ที่ใช้ในกระบวนการเมตาโบลิซึ่มอย่างแมกนีเซียม และฟอสฟอรัสทีละน้อย และช้าๆ ที่ 25% ของความต้องการพลังงานต่อวัน (ตัวอย่างอาหารที่ทานได้ในวันแรกๆ คือ การให้น้ำเกลืออุ่นๆ ผ่านสาย หรือลูกอม)

  3. ตรวจติดตามระดับอิเล็กโทรไลต์ ฟอสฟอรัส และแมกนิเซียมอย่างใกล้ชิด จึงค่อยเพิ่มพลังงานอย่างช้าๆ

  4. ประคับประคองอาการอย่างใกล้ชิด ค่อยๆ เพิ่มสารอาหารเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ โดยอาจใช้เวลา 4-7 วัน ไปจนถึง 2 อาทิตย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook