เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แผลเบาหวานที่เท้า   (Diabetic Foot Ulcer)

  1. 85% ของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตัดเท้ามีแผลบริเวณเท้ามาก่อน

  2. 40% - 70% ของโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการถูกตัดขา/เท้า

  3. ทุกๆ 30 วินาทีมีผู้ป่วยเบาหวานสูญเสียเท้าจากการถูกตัดขา/เท้า

  4. 1 ใน 6 รายของผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเคยมีบาดแผลอย่างน้อย 1 ครั้ง

 

โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการถูกตัดขาหรือเท้า ซึ่งการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากเพราะ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้อาจสูญเสียงานและอยู่ในสภาพที่ต้องการการฟื้นฟูในช่วงแรก ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ซึ่งเทคโนโลยี การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดขาทิ้ง พร้อมทั้งให้ข้อมูลในการป้องกันและการดูแลผิวหนัง ให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยในแต่ละบุคคล เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากแผลและลดโอกาสของการสูยเสียอวัยวะของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  โดยเทคโนโลยีการรักษาที่ใช้ ได้แก่

 

  1. Ultrasonic ( เทคโนโลยีการเลาะเนื้อเยื่อเล็ก )

                เครื่องมือที่จะช่วยการรักษาแผลเป็น โดยวิธีปล่อยคลื่นความถี่ต่ำไปบริเวณผิวหนังที่เป็นแผล ลักษณะการทำงานจะมีฟองก๊าซ ขนาดเล็กคล้ายโพรงอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดเนื้อเยื่อไขมันในเซลล์ การทำงานของคลื่นอัลตร้าโซนิกจะเพิ่มพลังงานจลน์ ของการเคลื่อนที่ของโมเลกุลภายในเซลล์  ส่งผลให้จำนวนของเชื้อแบคทีเรียและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วบนแผลและไบโอฟิล์มก็จะถูกลบออกโดยไม่มีความเสียหายใดที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง

 

  1. Versajet Debridement ( การผ่าตัดด้วยน้ำ )

                นวัตกรรมโดยใช้เครื่องแรงดันน้ำโดยใช้เครื่องฉีดน้ำเกลือที่มีมีดโกน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด  ระบบนี้ช่วยให้สามารถเร่งการยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อแบคทีเรียและสารปนเปื้อนที่ไม่สามารถกำจัดได้จากแผล การเผาไหม้และการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน โดยใช้เทคนิคการรักษาเนื้อเยื่อ ซึ่งช่วยลดเวลาในการปิดบาดแผลลงและอาจลดต้นทุนการรักษาโดยรวมอาศัยหลักการชะล้างบาดแผล โดยไม่ก่อให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อแกรนูเลชั่น ( Granulation Tissue )

ข้อดี

- ลดจำนวนแบคทีเรียบริเวณบาดแผล

- คงไว้ซึ่งเนื้อเยื่อที่ดี

- กำจัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป

- ส่งเสริมช่วยให้ผลของการผ่าตัดดีขึ้น

- เนื้อเยื่อที่ดีบริเวณใกล้เคียง โดนทำลายน้อยที่สุด

 

  1. Hyperbaric oxygen therapy ( HBOT )  ( เทคโนโลยีการบำบัดออกซิเจนเพื่อสุขภาพ )

                การบำบัดด้วยออกซิเจนในอากาศสูง เป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ในขณะที่ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ภายใต้สภาพความกดบรรยากาศสูงที่ 1 บรรยากาศ จากการศึกษาพบว่า HBO ช่วยในการรักษาแผลที่ดีขึ้น แผลที่หายสนิท ลดความเสี่ยงต่อการตัดแขนขา โรคที่เกิดอากาศอักเสบเรื้อรัง, รักษาแผลเรื้อรังจากการเป็นโรคเบาหวาน

ข้อดี 

  1. ลดความพิการ และ การสูญเสียอวัยวะ ช่วยให้บาดแผลเรื้อรังบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ที่เกิดอาการขาดออกซิเจนหายเร็วขึ้น จึงลดระยะเวลาในการรักษา รวมถึงลดค่าใช้จ่าย ในการรักษา และนอกจากนี้ การทำ HBOT ยังช่วยเสริมออกซิเจนให้กับสมองทันที หรือเนื้อเยื่อ ที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ  ดังนั้นผู้ป่วยที่มาด้วยการลดความกดอากาศ แรงดันในห้องปรับบรรยากาศ HBO จะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่สะสมในร่างกาย ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดเพิ่มสูงขึ้นตามมา ส่งผลให้ออกซิเจน แพร่ออกจากเส้นเลือดฝอยได้ไกลสามารถไปเลี้ยงสมอง และร่างกายส่วนปลายได้เพียงพอ

  2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เมื่อร่างกายสามารถได้รับออกซิเจนสูงกว่าการใช้ออกซิเจนตามปกติหลายเท่า จะสามารถช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  3. ช่วยสร้างคอลลาเจนและเส้นเลือดใหม่ ออกซิเจนบริสุทธิ์ทำให้เกิดการกระตุ้นสร้างเซลล์อ่อน และทำให้มีการสร้างคอลลาเจนใหม่ รวมถึงการสร้างเส้นเลือดฝอยเพิ่มขึ้นในบริเวณที่ขาดเส้นเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องฉายแสงรังสี แล้วต้องทำการรักษาด้านทันตกรรม ( ฟันผุเนื่องจากได้รับรังสี ) จะช่วยให้แผลหายไวขึ้น เช่นเดียวกับแผลเบาหวาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook