"มะเร็ง" คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1 แซงอุบัติเหตุ-โรคหัวใจ แนะตรวจคัดกรองป้องกันเสียชีวิต

"มะเร็ง" คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1 แซงอุบัติเหตุ-โรคหัวใจ แนะตรวจคัดกรองป้องกันเสียชีวิต

"มะเร็ง" คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1 แซงอุบัติเหตุ-โรคหัวใจ แนะตรวจคัดกรองป้องกันเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เชิญชวน ตรวจสุขภาพคัดกรองโรคมะเร็ง ค้นหาโรคหรือภาวะผิดปกติตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หากรู้เร็ว รักษาให้หายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์  อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยจากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมา คือ อุบัติเหตุ และโรคหัวใจซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขยังพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 70,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 รายโดยโรคมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่มะเร็งตับและท่อน้ำดีมะเร็งปอดมะเร็งเต้านมมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ การตรวจสุขภาพคัดกรองโรคมะเร็ง เพื่อค้นหาโรคหรือภาวะผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้ซึ่งโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะมีการดำเนินของโรคและวิธีการรักษาที่แตกต่างตามอวัยวะที่เป็นมะเร็งระยะของมะเร็งสภาพร่างกายและโรคประจำตัวของผู้ป่วยมะเร็ง

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจำเป็นต้องพิจารณาตามความเสี่ยงของแต่ละบุคคล

ขั้นตอนในการตรวจคัดกรองมะเร็ง

  1. ซักประวัติทั่วไป เรื่องพฤติกรรมที่ไม่ดี สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

  2. ถามถึงมีอาการแสดงของ 7 สัญญาณอันตรายต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์หรือไม่ อันได้แก่

    2.1 ระบบขับถ่ายที่ผันแปร

    2.2 แผลที่ไม่รู้จักหาย

    2.3 ร่างกายมีก้อนตุ่ม

    2.4 กลุ้มใจเรื่องกินกลืนอาหาร

    2.5 ทวารทั้งหลายมีเลือด หรือสิ่งผิดปกติไหล

    2.6 ไฝ หรือหูดที่เปลี่ยนไป

    2.7 ไอ หรือเสียงแหบเรื้อรัง

  3. ซักประวัติครอบครัวว่า มีใครเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็งหรือไม่

  4. ตรวจร่างกายทั่วไปและการคลำหาก้อนผิดปกติ ในตำแหน่งที่มีต่อมน้ำเหลืองอยู่มากกว่าตำแหน่งอื่น เช่น ลำคอ ข้อพับต่างๆ รักแร้ ไหปลาร้า ขาหนีบ ข้อศอก ข้อเข่า

  5. ตรวจช่องท้องคลำตับคลำม้ามว่าโตผิดปกติหรือไม่

  6. คลำหาก้อนผิดปกติในช่องท้อง

  7. ตรวจภายในทางทวารหนัก เพื่อค้นหาความผิดปกติของทวารหนักต่อมลูกหมาก

  8. ในเพศหญิงควรตรวจคลำหาก้อนผิดปกติบริเวณเต้านม รวมไปถึงการตรวจภายในเพื่อเอาเซลล์ปากมดลูกไปตรวจว่าผิดปกติหรือไม่

  9. เจาะเลือดตรวจปัสสาวะ อุจจาระ

  10. ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังชนิดบี หรือชนิดซี เพราะจะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง และกลายเป็นมะเร็งเซลล์ตับในที่สุด

  11. ตรวจหาเชื้อไวรัสหูด หรือไวรัสเอชพีวีจากสารคัดหลั่งในช่องคลอดที่เป็นสาเหตุของเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

  12. ตรวจทางรังสีวินิจฉัยของอวัยวะต่างๆ เพิ่มเติมของบุคคลนั้นๆ

 

หลังจากประมวลผลข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ประวัติผลการตรวจร่างกาย และผลการตรวจต่างๆ ดังกล่าวก็จะทราบว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอวัยวะใดมากกว่าคนปกติ ควรตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้นมีโอกาสหายขาดสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook