อายุยังไม่เท่าไหร่ อยู่ในวัยทำงานก็เป็นโรค "ข้อเข่าเสื่อม" ได้

อายุยังไม่เท่าไหร่ อยู่ในวัยทำงานก็เป็นโรค "ข้อเข่าเสื่อม" ได้

อายุยังไม่เท่าไหร่ อยู่ในวัยทำงานก็เป็นโรค "ข้อเข่าเสื่อม" ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคที่พบมากที่สุดในบรรดาโรคข้ออักเสบ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ วัยทำงานก็สามารถเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน

โรคข้อเข่าเสื่อมในวัยทำงาน อาการเป็นอย่างไร

  • รู้สึกเจ็บเข่า แต่พอนั่งพักอาการจะดีขึ้น

  • บวมบริเวณเข่า

  • รู้สึกอุ่นๆ ที่บริเวณข้อต่อ

  • เข่าแข็ง

  • เคลื่อนไหวไม่สะดวก เช่น เวลาเดิน เดินขึ้นบันได เข้าไปนั่งในรถ หรือเวลาออกมาจากรถ จะรู้สึกไม่คล่องตัว

  • มีเสียงที่เกิดจากการเสียดสีของเข่า เวลาเคลื่อนไหว

หากวัยทำงานคนไหน กำลังมีปัญหากับหัวเข่าแบบนี้อยู่ อาจจะเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการที่การสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ทำให้กระดูกข้อต่อเสียดสีกัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บปวด เกิดอาการบวม เข่าแข็ง หรือเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก

ผลกระทบจากอาการ ข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมพบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งถ้ามีอาการแรกเริ่มแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้เจ็บปวดบริเวณเข่า เข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต มีงานวิจัยที่วิเคราะห์โรคข้อเข่าเสื่อมในวัยหนุ่มสาว และนักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแรง ผลการวิจัยชี้ว่าแม้แต่นักกีฬาก็สามารถเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน ถึงแม้ว่าร่างกายจะมีความทนทานมากกว่าคนปกติ (สาเหตุที่ทำให้นักกีฬาหรือคนในวัยหนุ่มสาวเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก็ เช่น มวลกล้ามเนื้อในร่างกาย) หรือกีฬาบางประเภทอย่างซูโม่ หรืออเมริกันฟุตบอล นักกีฬามีค่าดัชนีมวลกาย BMI สูงก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้น ไม่ว่าจะแข็งแรงถึงขั้นเป็นนักกีฬา หรือเป็นคนธรรมดา วัยทำงาน ก็สามารถเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ และแน่นอนว่าอาการเจ็บปวดที่เข่า การเดินได้ไม่ปกติ จะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแน่นอน

ปัจจัยที่ทำให้วัยทำงานเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมคืออายุ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นก่อนวัย ดังนี้

  • อายุ กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อก็จะสึกหรอไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น

  • น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าก็ต้องยิ่งรับน้ำหนักมาก ทุกๆ ครั้งที่น้ำหนักเราขึ้นเพียงครึ่งกิโลกรัม ก็ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มถึง 1-2 กิโลกรัม

  • เพศ ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 55 ปีจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย

  • พันธุกรรม ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตอนแก่ได้ หรือในเรื่องของกระดูก รูปร่างของกระดูกที่ผิดปกติบริเวณเข่าก็เป็นพันธุกรรมเหมือนกัน

  • การบาดเจ็บซ้ำซาก บางอาชีพทำให้เข่าได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง เช่น อาชีพที่ต้องยกของหนัก ต้องแบกของที่หนักเกิน 25 กิโลกรัมทุกวัน ก็จะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักเยอะ ส่งผลให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้

  • การเล่นกีฬา กีฬาบางชนิดเช่น ฟุตบอล เทนนิส หรือการวิ่งมาราธอน ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อตอนออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงเพราะกล้ามเนื้อรอบๆ หัวเข่าก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าอักเสบได้เหมือนกันถ้ากล้ามเนื้อบริเวณนั้นไม่แข็งแรง

  • ความเจ็บป่วย คนที่เป็นโรครูมาตอย อาจเป็นโรคข้อเข่าอักเสบด้วย หรือคนที่มีความผิดปกติ เช่น มีโกรธ์ ฮอร์โมนเยอะเกินไป ก็ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

วิธีป้องกันโรค ข้อเข่าเสื่อม

  • ลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักจะช่วยทำให้ข้อเข่าไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด หรือลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณเข่า จะช่วยทำให้ข้อต่อเคลื่อนที่ได้ดีและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

  • กินอาหารที่มีวิตามินดี การมีวิตามินดีในร่างกายน้อยจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนที่มีวิตามินดีในร่างกายสูง ดังนั้นควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และกินอาหารที่ให้วิตามินดี เช่นน้ำส้มคั้นสด ไข่ขาว หรือซีเรียล

  • การใช้ยา หากมีอาการปวดเนื่องจากโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ควรซื้อยามาใช้เองเกิน 10 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะการใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดเข่าอาจส่งผลข้างเคียง หากเจ็บปวดจากโรคข้อเข่าอักเสบและต้องการกินยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook