7 วิธีป้องกันความเสี่ยงโรค “ทางเดินปัสสาวะอักเสบ”

7 วิธีป้องกันความเสี่ยงโรค “ทางเดินปัสสาวะอักเสบ”

7 วิธีป้องกันความเสี่ยงโรค “ทางเดินปัสสาวะอักเสบ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความรีบเร่งในการทำงาน รถติดบนท้องถนน และอุปสรรคต่างๆ อาจทำให้หลายๆ คนมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่าย การเข้าห้องน้ำ ที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับสร้างปัญหาให้ใครมามากมายหลายต่อหลายคน จึงทำให้โรค “ทางเดินปัสสาวะอักเสบ” กลายเป็นโรคยอดฮิตของวัยเรียน วัยทำงานไปจนได้ แต่ถ้าไม่อยากทรมานกับโรคนี้ Sanook! Health มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบอย่างง่ายๆ มาฝากกัน

>> กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัว “วัยทำงาน”

>> ทำไม? ชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็น "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"

 

  1. ปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด

การกลั้นปัสสาวะ เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ดังนั้นอย่าทำงานเพลิน หรือยุ่งมากเกินกว่าจะลุกไปเข้าห้องน้ำ และปัสสาวะออกให้จากกระเพาะปัสสาวะ และอย่าลืมดื่มน้ำเพียงพอในแต่ละวันด้วย จะได้บังคับให้ตัวเองต้องปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง (ถ้าปัสสาวะมีสีเข้ม ให้ดื่มน้ำเพิ่ม เพราะนั่นอาจหมายถึงคุณกำลังดื่มน้ำไม่เพียงพอ)

>> ดื่มน้ำน้อย-กลั้นปัสสาวะ เสี่ยง "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"

>> ดื่มน้ำวันละ 8 แก้วก็เพียงต่อร่างกายแล้วจริงหรือ

 

  1. ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์

ผู้หญิงควรลุกขึ้นมาปัสสาวะหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพราะแบคทีเรียที่อาจเกิดขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้การใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicides) ก็อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้มากขึ้นอีกด้วย

>> จริงหรือไม่? ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ เสี่ยง “กระเพาะปัสสาวะอักเสบ”

 

  1. ทานน้ำตาล D-mannose

น้ำตาล D-mannose เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และรักษาโรค carbohydrate-deficient glycoprotein syndrome ซึ่งมาจากโรคระบบการเผาผลาญอาหาร แต่ก่อนหามาทานควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพราะการทานน้ำตาล D-mannose มีข้อบ่งชี้ รวมถึงผลข้างเคียงที่ควรระวังอยู่ด้วย เช่น อาจำให้ท้องเสีย ท้องอืด หรืออาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น

 

  1. รักษาความสะอาดอยู่เสมอ

การรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่จุดเริ่มต้น นอกจากจะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมแล้ว ทุกครั้งที่ใช้กระดาษชำระเช็ดจากรูทวารมาที่บริเวณปากท่อปัสสาวะ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ ดังนั้นควรเช็ดย้อนจากด้านหน้าไปด้านหลังแทน นอกจากนี้การพยายามใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมาก หรือบ่อยเกินไป ก็เป็นการรบกวนการทำงานของแบคทีเรียดีที่คอยฆ่าเชื้อแบคทีเรียแปลกปลอมอื่นๆ อยู่บริเวณนั้นไปด้วย จึงควรทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าเป็นประจำทุกวันก็เพียงพอ หรือหากอยากใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ก็ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป หรือไม่ควรล้วงไปล้างสวมเข้าไปในทวารหนัก หรือปากช่องคลอด เป็นต้น

 

  1. วัยหมดประจำเดือน ต้องดูแลเป็นพิเศษ

ฮอร์โมนเอสโตรเจนของผู้หญิงเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้ ดังนั้นหญิงวัยหมดประจำเดือนที่อาจมีฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนผู้หญิงน้อยลง จึงอาจจะต้องมีการเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนเฉพาะที่ในบางราย ซึ่งได้ผลดีในผู้หญิงบางรายที่มีประวัติโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

>> แบบไหน! โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง

 

  1. กินแครนเบอร์รี่

ผลแครนเบอร์รี่ และน้ำแครนเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า โปรแอนโทไซยานิดิน (proanthocyanidins) ที่รายงานการวิจัยพบว่า ช่วยไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้ แต่สำหรับน้ำแครนเบอร์รี่อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระน้อยกว่าผลสด เพราะมีแต่น้ำตาลเสียมากกว่า ดังนั้นหากอยากทางแครนเบอร์รี่ให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระมากๆ ควรเลือกทานผลสด และไม่ควรทานคู่กับแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง และอาจกลับไปสู่ความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอีกได้

 

  1. พบแพทย์

หากมีอาการของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบแล้ว (เช่น ปัสสาวะแสบ ขัด หรือกะปริบกะปรอย) ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อหาสาเหตุของโรคอย่างแท้จริง ไม่แน่ว่าอาจจะไม่ได้มาจากแค่อาการกลั้นปัสสาวะ หรือรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ แต่อาจเป็นอาการผิดปกติของการทำงานของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคต่ำลงจนเกิดอาการติดเชื้อได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook