′ปวดขาหนีบ-ปวดสะโพก′ ปล่อยไว้นานเสี่ยง.."หัวสะโพกยุบ"

′ปวดขาหนีบ-ปวดสะโพก′ ปล่อยไว้นานเสี่ยง.."หัวสะโพกยุบ"

′ปวดขาหนีบ-ปวดสะโพก′ ปล่อยไว้นานเสี่ยง.."หัวสะโพกยุบ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
         นพ.พิธิณัฎฐ์ มังคลานนทชัย ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ รพ.ธนบุรี 2 ให้ข้อมูลว่า โรคกระดูกหัวสะโพกตายเกิดจากภาวะข้อสะโพกเสื่อม พบมากในช่วงอายุ 40-65 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขาหนีบ ปวดสะโพก หรือหน้าขา บางรายอาจปวดไปที่เข่า หากปล่อยไว้นานจะทำให้หัวสะโพกยุบตัว

       โดยผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่มีประวัติใช้ยาสเตียรอยด์ และผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ข้อสะโพก หรือโรคอื่นๆ มีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกหัวสะโพกตายสูง

      ทั้งนี้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีอาการข้างต้น สามารถวินิจฉัยโรคได้โดยการตรวจทางรังสี (X-RAY) แบ่งอาการของโรคเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ไม่มีอาการ ไม่พบความผิดปกติจากเอกซเรย์ แต่พบได้จากการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ระยะที่เริ่มมีการปวด เนื่องจากกระดูกด้านในหัวสะโพกมีการตายหรือหัก
ระยะหัวสะโพกยุบตัว ทำให้ขาสั้นลง เคลื่อนไหวข้อสะโพกลำบาก
ระยะเบ้าสะโพกเสื่อม มักมีการปวดมากจนเดินกะเผลก

      การรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยในระยะที่ 1-2 หัวสะโพกจะยังคงรูปร่างเดิมอยู่ สามารถรักษาโดยการผ่าตัดระบายความดันในหัวสะโพก (core decompression) เพื่อรักษาหัวสะโพกเดิมไว้ ระยะที่ 3-4 จะเป็นระยะที่หัวสะโพกมีการยุบตัว ต้องทำการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (hip arthroplasty) ทดแทนหัวสะโพกเดิม

      จากการศึกษาโรคกระดูกหัวสะโพกตาย การรักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่สามารถหยุดการดำเนินโรคได้ แนวทางในการรักษาจึงแนะนำให้ผ่าตัดรักษา และหากมีอาการของโรคควรรีบไปพบแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook