3 เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกล "ออฟฟิศซินโดรม"

3 เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกล "ออฟฟิศซินโดรม"

3 เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกล "ออฟฟิศซินโดรม"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมควบคุมโรค เชิญชวนคนทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ปรับตามหลัก 3 ป. คือ ปรับสภาพแวดล้อม  เปลี่ยนพฤติกรรม  ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเสี่ยงจากโรคออฟฟิศซินโดรม

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขครบรอบ 100 ปี การสาธารณสุขไทย ภายใต้แนวคิด “เพื่อประชาชนสุขภาพดี 100 ปี แห่งการพัฒนา”  กรมควบคุมโรค จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างความสุขและสุขภาพให้แก่ประชาชนในทุกกลุ่มวัย ทั้งกลุ่มเด็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงวัยผู้สูงอายุ หลายปีที่ผ่านมา กลุ่มวัยทำงานพบป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมจำนวนมาก โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งโต๊ะเป็นเวลานาน

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2556-2560 พบว่าประเทศไทยมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 30.8 ล้านคน เป็นกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 15 ขึ้นไป) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ จำนวนถึง 28.1 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 91.3 ซึ่งปัญหาสุขภาพอันเนื่องจากการทำงานในออฟฟิศมีแนวโน้มสูงขึ้น การนั่งดูจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถ อาจส่งผลให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้

 

ปัจจัยเสี่ยงของ ออฟฟิศซินโดรม

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมของคนทำงาน ได้แก่ ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การจัดพื้นที่ทำงานเกินระยะเอื้อมของมือ หรือการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน เป็นต้น

 

เคล็ดลับป้องกัน ออฟฟิศซินโดรม

การปรับสมดุลของคนทำงานออฟฟิศ มีความจำเป็นอย่างมากในการลดความเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม เพื่อลดอาการปวดเมื่อยและลดโรคออฟฟิศซินโดรม วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ขอให้ยึดหลัก “3 ป.” คือ

  1. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

    - ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา

    - วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอกทำมุม 90 องศา

    - นั่งหลังตรงให้หลังชิดกับพนักพิง

    - วางเท้าลงบนพื้นให้ขาทำมุม 90 องศา

    - วางข้อมือให้ตรง ไม่บิดหรืองอข้อมือ


  2. เปลี่ยนพฤติกรรมและท่าทางการทำงาน

    การปรับท่าทางขณะพัก ขอให้ยึดหลัก “10-20-60” ทุก 10 นาทีให้พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปเดินเล่นและเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 20 นาที เมื่อครบชั่วโมง (60 นาที) ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน โดยการบริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา

    ปรับอิริยาบถเสมอๆ เพื่อลดการปวดเมื่อยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม



  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook