ทำความรู้จัก “โรคเตียงดูด” ขี้เกียจกับป่วยแค่เส้นกั้นบางๆ เท่านั้น

ทำความรู้จัก “โรคเตียงดูด” ขี้เกียจกับป่วยแค่เส้นกั้นบางๆ เท่านั้น

ทำความรู้จัก “โรคเตียงดูด” ขี้เกียจกับป่วยแค่เส้นกั้นบางๆ เท่านั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการเตียงดูด หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Clinomania (อีกชื่อหนึ่งคือ Dysania) ลักษณะอาการของผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคเตียงดูดหรือติดเตียงนอน ก็คือจะมีความรู้สึกอยากนอนทั้งวัน ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนอนอยู่บนเตียง มีอาการตื่นนอนในตอนเช้าได้ยากลำบาก หรือใช้เวลาในการลุกจากเตียงนานเป็นชั่วโมง ทั้งนี้อาการเตียงดูดยังไม่ใช่สาเหตุ ที่มีมาจากความขี้เกียจอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เข้าข่ายเป็นอาการทางจิตเวช และยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ อีกด้วย

ดูอย่างไรว่าเข้าข่ายติดเตียงนอน

  • ไม่อยากลุกจากเตียงเพื่อไปทำสิ่งต่างๆ ตื่นนอนตอนเช้าได้ยากลำบาก

  • ขอเวลานอนต่อเรื่อยๆ เลื่อนนาฬิกาปลุกทุกวัน นอนได้ทั้งวัน และง่วงอยู่ตลอดเวลา

  • นอนได้ทุกที่ แม้แต่หลับบนโต๊ะ นอนตักเพื่อน และใช้เวลาไม่นานก็หลับจริงๆ

  • ไม่ว่าทุกข์หรือสุข เตียงนอนคือจุดหมายเดียวที่ใช้ในช่วงเวลานั้น

  • ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียงนอน เช่น นอนเล่นมือถือ อ่านหนังสือ ดูทีวี หรือแม้แต่กินข้าวกินขนม

 

ผลกระทบหากเป็นโรคเตียงดูด

  • ตื่นยาก อ่อนเพลียง่าย อาจไม่ได้เป็นเพราะคุณขี้เกียจ แต่กำลังเสพติดความเครียดที่ต้องเจอในแต่ละวัน จนทำให้ภาวะต่อมหมวกไตล้า จนมีอาการแสดงออกอย่างที่เห็น ถ้าเกิดความเครียดสะสมเรื้อรัง จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ลดลง จะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และอ่อนเพลียตอนกลางวัน

  • อารมณ์แปรปรวน บางรายมีอาการเครียดหรือซึมเศร้าร่วมด้วย อาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่รวดเร็ว โดยการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์นี้ อาจเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยหรือความเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย แม้แต่โรคจิตเวชบางชนิด เช่น โรคไบโพลาร์ โรคจิตอารมณ์ เป็นต้น

 

ง่วงตลอดเวลาบ่งบอกถึงโรคอะไรบ้าง

  • โรคโลหิตจาง เป็นผลจากร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนจากปอดมาเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยง่วงนอนบ่อยและเฉื่อยชา มีความคิดความอ่านด้อยลง

  • เบาหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย

  • โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคนี้จะเป็นผลมาจากสารเคมีในสมองโดยตรง ที่ทำให้เวลานอนแปรปรวนไม่แน่นอน หลับๆ ตื่นๆ และนอนไม่หลับ

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะการกรนซึ่งเป็นสาเหตุให้นอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อให้เป็นภาวะเสี่ยงนี้ในระยะยาว

  • โรคลมหลับ หนึ่งในโรคสุดแปลก โดยลักษณะอาการของผู้ป่วยจะง่วงมากผิดปกติในตอนกลางวันและหลับได้บ่อยมาก พอหลับแล้วก็จะฝันในทันที กลไกควบคุมการหลับตื่นผิดปกติ ทำให้ควบคุมการนอนไม่ได้

 

วิธีแก้ไขถ้าไม่อยากกลายเป็นคนติดเตียง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เช่น งดดูทีวีและงดเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน 1 ชม. เข้านอน-ตื่นนอนให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

  • ทานของหวาน เพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น ความสุขที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายนั้น เกิดจากพลังงานที่ทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่นสดใส ไม่ว่าจะอ่อนเพลียแค่ไหน ความหวานก็สามารถช่วยได้ แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้ร่างกายมีความสดชื่น กระฉับกระเฉง พร้อมที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายให้ได้ผลดีนั้น จะต้องค่อย ๆ ทำและใช้เวลา ควรทำอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ร่างกายเกิดพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ และมีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว

  • ไปพบแพทย์และใช้ยารักษา หากมีความรู้สึกว่าปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล ควรไปปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชียวชาญเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่กระบวนการใช้ยารักษาอาการต่อไป เพื่อสุขภาพที่ดีและให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook