5 เรื่องที่ต้องรู้ไว้! "ไข้เลือดออก" ภัยร้ายหน้าฝน คนเมือง

5 เรื่องที่ต้องรู้ไว้! "ไข้เลือดออก" ภัยร้ายหน้าฝน คนเมือง

5 เรื่องที่ต้องรู้ไว้! "ไข้เลือดออก" ภัยร้ายหน้าฝน คนเมือง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคร้ายมักจะมุ่งหน้ามาหาเราแบบไม่ทันได้บอกกล่าวอยู่เสมอ ดูอย่าง โรคไข้เลือดออก เป็นตัวอย่างสิ ถึงแม้ว่าเราจะใช้ชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรงมาร่วมหลายปี มีชีวิตอยู่ในเมืองที่คลาคล่ำไปด้วยความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม ทั้งดี และไม่ดีขนาดไหน ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เสี่ยงที่จะเป็นไข้เลือดออกสักหน่อย Sanook! Health จึงอยากให้ลองทำความเข้ากับ 5 เรื่องที่ต้องรู้ไว้ แล้วค่อยกลับมาบอกนะ ว่าคุณไม่มีโอกาสที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกอยู่รึเปล่า?

 

  1. เราสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง!

ถูกต้องแล้วล่ะ ไม่ได้พิมพ์ผิดเพี้ยนไปจากแหล่งข้อมูลแต่อย่างใด โอกาสที่จะเป็นโรคไข้เลือดออกได้มีถึง 4 ครั้งจริงๆ ส่วนใหญ่เราต่างก็คิดว่าไวรัสไข้เลือดออกนั้นมีเพียงชนิดเดียวที่เป็นๆ กันอยู่ แต่จริงๆ แล้วเชื้อไวรัสในโรคนี้มีถึง 4 ชนิด อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เมื่อเราติดเชื้อไวรัสชนิดที่หนึ่งแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันกับเชื้อไวรัสชนิดนั้น ก็ยังมีโอกาสที่ร่างกายจะติดเชื้อไวรัสได้อีก 3 ชนิด 3 หน ซึ่งก็มีความเป็นได้ที่ในคนคนเดียวจะติดไวรัสได้มาถึง 4 ชนิด อีกทั้งความรุนแรงก็อาจจะเพิ่มมากขึ้นจากที่เคยติดเชื้อในครั้งแรก

 

  1. ถึงติดเชื้อไข้เลือดออกเป็นครั้งแรก ก็อาจเป็นขั้นรุนแรงได้เหมือนกัน

จากข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมเอาไว้ทุกปีพบว่า ผู้คนกว่าครึ่งล้านที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกจะอยู่ในระดับที่รุนแรง และหนึ่งในจำนวนนั้นกว่า 12,500 ต้องเสียชีวิตลงจากโรคดังกล่าว ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว นับว่าเป็นใบเบิกทางที่ดีที่โรคนั้นจะพัฒนาไปสู่การเป็นโรคในขั้นรุนแรงได้ ซึ่งไม่ว่าใครต่างก็มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อไข้เลือดออกกันทั้งนั้น จึงเป็นที่มาว่าทำไม แม้จะติดเชื้อเพียงครั้งแรก แต่ก็อยู่ในระดับที่มีความรุนแรงของโรคมากๆ ได้

 

  1. จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไข้เลือดออก

  • ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเบื่ออาหาร

  • หน้าแดง อาจพบจุดเลือดได้บริเวณผิวหนังจุดต่างๆ มีอาการเจ็บชายโครงด้านขวา

  • มีไข้สูงลอย มีอาการไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็วและลดลงยาก

  • ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูก ซึ่งนี่นับว่าเป็นข้อแตกต่างสำคัญที่ทำให้เราสามารถจำแนกการเป็นไข้หวัดธรรมดากับการเป็นไข้เลือดออกได้ เพราะตามปกติเมื่อเป็นไข้ก็จะมีน้ำมูกร่วมด้วย เว้นแต่จะเป็นทั้งสองอาการพร้อมกันที่มีทั้งไอและมีน้ำมูก แต่หากเกิดความสงสัยว่าตนเองเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ แนะนำว่าให้รีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

 

ในกรณีที่ตรวจพบว่าเป็นไข้เลือดออก โดยไข้นั้นลดลงในช่วงวันที่ 3 - 4 แต่ผู้ป่วยกลับมีอาการเซื่องซึมกินดื่มไม่ได้ จำเป็นต้องรีบกลับมาพบแพทย์เพื่อดูอาการและรับการรักษาให้ทันท่วงที หากจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการร่วมด้วย ควรใช้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามใช้ยาแอสไพริน หรือกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) อาทิ ไอโปรเฟน เพราะจำทำให้ออกในอวัยวะภายในได้ง่ายขึ้น รวมถึงต้องกินอาหารอ่อนๆ งดอาหารที่มีสีแดงคล้ายเลือด เช่น อาทิ แตงโม เนื่องจากเวลาที่อาเจียนจะทำให้แยกไม่ออก

 

  1. ยิ่งเมืองใหญ่ เต็มไปด้วยแสงสี เป็นอะไรที่ “ยุงลาย” ชอบนัก

ขอรื้อฟื้นความหลังกันสักเล็กน้อย โรคไข้เลือดออก เกิดจากไวรัสที่มีชื่อว่า เด็งกี่ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ประชากรโลกเกินกว่าครึ่งหนึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเจ้าเชื้อโรคตัวนี้ และมีพลเมืองทั่วโลกกว่า 390 ล้านคนติดเชื้อไข้เลือดออก ยิ่งในประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ก็มีผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออกกว่า 144,952 ราย ในปี 2558 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการแพร่ระบาดและการขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวาง เป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีชุมชนเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนไหวของประชากรและยุงลายก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ตามการเพิ่มของภาชนะที่สามารถขังน้ำได้ มีการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเด็งกี่เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

ยุงลายมีก็มีอยู่เพียง 2 ประเภทเท่านั้นที่นำมาซึ่งโรคไข้เลือดออก คือ ยุงลายบ้าน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน โดยเป็นพาหะหลักในการนำโรค มีแหล่งเพาะพันธุ์ในภาชนะที่ขังน้ำใส นิ่ง เป็นยุงที่สะอาด มักไม่อยู่ในบริเวณท่อระบาย หรือน้ำเน่าเสีย ต่อมา คือ ยุงลายสวน ที่อาศัยอยู่ในสวน ป่า เพาะพันธุ์ตามลำต้น ใบไม้ และตอไม้ที่มีน้ำฝนมากตกค้างอยู่ ซึ่งยุงลายชอบออกดูดเลือดในเวลากลางวัน มีอยู่ 2 ช่วง คือ 9.00-11.00 น และ13.00-15.00 น.

 

  1. ป้องกันไว้ ลดความเสี่ยงเป็นไข้เลือดออก

ถึงแม้ว่าโรคไข้เลือดออกจะเป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หาย แต่ก็ยังพอมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ ไม่ว่าจะเป็น การระวังไม่ให้ยุงกัด ยุงลายมักจะชอบบินมากัดจากด้านหลังข้อเท้าและข้อศอกโดยที่เราไม่รู้ตัว ฉะนั้น จึงต้องป้องกันและระมัดระวังไม่ให้ยุง อาจใช้ยาจุดกันยุง หรือยาทาสำหรับกันยุง ใช้สเปรย์ฉีดยุง ไม้ตียุง หรือนอนกางมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัน 

ต่อมาก็เป็นการเรื่องของการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลเพื่อลดจำนวนยุงพาหะ ง่าย ได้ผลดี และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ใครก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยปิดภาชนะให้มิดชิด เทน้ำทิ้งเมื่อไม่ใช้ หรือภาชนะที่จำเป็นต้องใส่น้ำไว้ก็ต้องหมั่นเปลี่ยนทุกสัปดาห์ หรือปล่อยปลากินลูกน้ำ เก็บเศษภาชนะที่ไม่ได้ใช้ทิ้งเพื่อไม่ให้มีน้ำขัง อาทิ เทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้ง แจกันไม้นำ ต่อมาก็เปลี่ยนน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้สารเคมีเพื่อกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายบ่อยๆ ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook