นักวิจัยเผยโรคข้อเสื่อมไม่ใช่แค่เรื่องของคนมีอายุ ถึงเวลาเช็คอายุไขข้อเพื่อปลดล็อคตัวเอง
นักวิจัยเผยโรคข้อเสื่อมไม่ใช่แค่เรื่องของคนมีอายุ ถึงเวลาเช็คอายุไขข้อเพื่อปลดล็อคตัวเองสู่ความแข็งแรงในอีกระดับขั้น
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนวัยยี่สิบต้นๆ หรือกำลังย่างเข้าสู่อายุห้าสิบ เป็นคนที่ชอบออกกำลังกายขนาดหนักหรือรักที่จะเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ เรื่อยไปจนถึงจะมีน้ำหนักน้อยหรือมากก็มีสิทธิ์เป็นโรคข้อเสื่อมกันได้ทุกคนเพราะโรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกข้อของทุกเพศและทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าไลฟ์สไตล์ของใครจะพาตัวเองเข้าสู่ภาวะเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ลองมาเช็คลิสต์กันดูดีกว่าว่าคุณกำลังเข้าข่ายเป็นผู้ประสบภัยเรื่องข้อเสื่อมอยู่หรือเปล่า
- คุณมีน้ำหนักตัวมาก โดยมีค่า BMI เกิน 25 ซึ่งค่า BMI สามารถคำนวณได้โดยเอาน้ำหนักหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะทำให้ข้อต้องรับน้ำหนักมากกว่าเดิม ความแข็งแรงของข้อจึงเสื่อมลงได้ง่าย
- กิจวัตรประจำในแต่ละวันต้องเดินตลอดเวลารวมถึงมีการใช้งานข้อแบบผิดๆ หนักเกินไป หรือเสียดสีเกินไป เช่น นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ บ่อย ๆ หรือเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการใส่รองเท้าส้นสูง
- รู้สึกว่าเข่าตัวเองยืด ฝืด หรืองอลำบาก
- ออกกำลังกายแค่อย่างใดอย่างเดียวต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่มีการเสริมกล้ามเนื้อส่วนอื่นให้แข็งแรงเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ของข้อต่อ
- อายุ 40ปีขึ้นไป โดยเพศหญิงจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย 2-3 เท่าเนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลงหรือไม่ผลิตอีกเลย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่มีตัวจับกับฮอร์โมนเพศหญิงชนิดนี้ทำงานน้อยลงทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน (Proteoglycan) ที่ใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนลดลงไปด้วย
- เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ยิ่งถ้ามาจากการเกิดอุบัติเหตุหรือการออกกำลังกายมากกว่าปกติ เช่น ข้อเข่าแตกหรือเอ็นข้อเข่าฉีกจะมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ
- พันธุกรรม คือมีคนในครอบครัวเป็นโรคข้อเสื่อมมาก่อน
โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในข้อที่ต้องลงน้ำหนักหรือรองรับน้ำหนักตลอดเวลา อาทิ ข้อเข่า (พบได้บ่อยที่สุด) ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกคอ และข้อกระดูกสันหลังซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือกระดูกอ่อนของข้อที่อยู่ในส่วนปลายของกระดูกแต่ละชิ้นที่ประกอบกันเป็นข้อเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่หลักคือการปกป้องไม่ให้กระดูกแต่ละชิ้นบดเบียดเสียดสีกันขณะเคลื่อนไหวได้จึงเกิดอาการอักเสบขณะขยับตัว และเมื่อสะสมต่อเนื่องจะกลายเป็นอาการปวดข้อ มีเสียงดังในข้อ และข้อเคลื่อนไหวได้จำกัด
ถ้าทำเช็คลิสต์ออกมาแล้วพบว่าตัวเองเข้าข่ายเป็นโรคข้อเสื่อม ไม่ต้องกังวล ทุกอย่างมีวิธีแก้ไข และป้องกัน นี่คือ 3 วิธีเบื้องต้นที่จะช่วยให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม
- ควบคุมน้ำหนัก
หนึ่งในสาเหตุใหญ่ของอาการข้อเสื่อมก็คือ การที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักตัว มากเท่าไร ข้อต่าง ๆ ในร่างกายก็ยิ่งต้องรับภาระมากเท่านั้น โดยเฉพาะข้อเข่า สะโพก และ หลัง ที่เป็นกำลังหลักในการรับน้ำหนักของร่างกายการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการควบคุมน้ำหนักจึงเป็นการทนุถนอมข้อกระดูกทางหนึ่ง
- ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น นั่งหลังงอและก้มคอทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันหลายชั่วโมงก็เป็นผลเสียต่อข้อต่อบริเวณคอ และกระดูกสันหลังส่วนเอวเช่นกัน ควรนั่งให้ถูกต้องโดยการนั่งพิงพนักเก้าอี้ และไม่ควรก้มคอนาน ๆ นอกจากนั้นทางที่ดี ควรหาโอกาสขยับตัว โดยลุกขึ้นมาเดินบ้าง ยืดแขนยืดขาบ้างเพื่อเป็นการบริหารข้อต่อ
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งดี แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไป ก็จะเป็นการสร้างภาระให้กับข้อกระดูกได้ โดยจะเห็นได้จากนักกีฬาอาชีพ ซึ่งมักมีปัญหาข้อกระดูกเสื่อมอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การป้องกันโรคข้อเสื่อมจากการออกกำลังกายสามารถทำได้โดยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อเป็นส่วนสำคัญในการแบ่งเบาภาระต่าง ๆ ของข้อต่อเมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรุนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณเอ็นข้อต่อซึ่งเป็นจุดสำคัญของการออกกำลังแทบทุกประเภท นอกจากนี้ การมีกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังที่ดีจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังรับภาระน้อยลง ซึ่งลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมได้มาก อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มฝึกกล้ามเนื้อใด ๆ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้การ ฝึกฝนนั้นไปสร้างภาระให้กับข้อกระดูก
ถ้าทำทั้งหมดแล้วยังรู้สึกปวดข้อคิดกลับไปกลับมาว่าเป็นข้อเสื่อมแน่ๆ นี่คืออาการเบื้องต้นที่บ่งบอกว่าคุณกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม
- เข่ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหว
- ปวดเข่าหรือขาเวลาเดิน หรือเวลาที่เคลื่อนไหว
- รู้สึกปวดบริเวณข้อ โดยจะปวดบริเวณรอบข้อแบบที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน และมักจะปวดเรื้อรัง
จุดสังเกตสำคัญอีกอย่างคืออาการปวดข้อจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อมากๆ - ปวดเข่าเวลานอน
- ปวดข้อเข่าเวลาใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือเวลาลุกนั่ง
- ปวด บวม อักเสบ บริเวณข้อเข่า ปวดข้อจนไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ต้องเดินโยกตัว
- ข้อบวมและผิดรูป จากกระดูกที่งอ
- สูญเสียการเคลื่อนไหว เริ่มเดินไม่ค่อยสะดวก นั่งลำบาก เดินไม่ค่อยไหว โดยเฉพาะหากอยู่ในลักษณะเดิมนาน ๆ อาการปวดอาจจะมากขึ้น จนลุกไม่ขึ้นหรือแค่ขยับก็เจ็บมาก
ฟื้นฟูข้อเข่าเสื่อมด้วย Collagen Type II
ข้อเข่าเสื่อม เมื่อเป็นแล้วใช่ว่าจะต้องทนกับอาการเจ็บไปตลอด เราสามารถฟื้นฟูตัวเองสู่ความแข็งแรงในอีกระดับขั้นได้ด้วยการทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการทำความรู้จักกับ คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II)
คอลลาเจนชนิดที่ 2 สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ Undenatured Collagen Type II (UC-II) และ Denatured Collagen Type II โดยสองชนิดนี้มีข้อแตกต่างกันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของกระบวนการผลิต โครงสร้าง หรือวิธีการทำงาน และปริมาณในการรับประทาน ซึ่ง UC-II จะเป็นคอลลาเจนที่เหมาะสำหรับการดูแลเสริมสร้างในเรื่องของไขข้อมากที่สุด เพราะผลิตด้วยอุณหภูมิต่ำและไม่ใช้เอนไซม์ในการผลิต จึงทำให้ได้โครงสร้างแบบ Undenatured ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ใกล้เคียงกับ Collagen Type II ที่ร่างกายสร้างขึ้น (เป็นแบบ Triple Helix Structure) มีความจำเพาะที่สามารถออกฤทธิ์ได้บริเวณข้อ หรือกระดูกอ่อนที่ข้อ โดยลดอัตราการทำลายหรือเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ส่งผลให้ร่างกายกลับสู่ภาวะสมดุลของการซ่อมสร้างตามธรรมชาติ เนื่องจากคอลลาเจนชนิดนี้จะมีส่วนช่วยในการรองรับน้ำหนักและเสริมความแข็งแรงของข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหวและยังมีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่มีอยู่ในข้อ จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายทำได้ดีขึ้น
แล้วคอลลาเจนชนิดที่ 2 ตามหาได้จากที่ไหน !
NutriMaster Boncal Type II (นูทรีมาสเตอร์ บอนแคล ไทพ์ ทู)ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนชนิดที่ 2 ผสมแคลเซียมและวิตามินดี คอลลาเจนใน NutriMaster Boncal Type II ทำมาจากกระดูกอ่อนของอกไก่ และใช้ซูคาโลสเติมให้ความหวานแทนน้ำตาล ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ เบาหวาน และแพ้อาหารทะเลสามารถรับประทานได้
**NutriMaster Boncal Type IIหาซื้อได้ในร้านวัตสันและร้านขายยาชั้นนำทั่วไป หรือโทรศัพท์สั่งได้ที่เบอร์ 0-2329-1020
ติดตามข้อมูลข่าวสารหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่
https://www.facebook.com/NutrimasterThailand/
Line @NutriMaster
[Advertorial]