มารู้จักกับ ′โลก′ ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

มารู้จักกับ ′โลก′ ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์

มารู้จักกับ ′โลก′ ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

         เมื่อโลกของเรา กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนจำนวนประชากรผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับปัญหาด้านสุขภาพ และความเป็นอยู่ ถึงแม้ว่าวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันจะก้าวไกลไปมาก แต่ในการค้นคว้าศึกษาการรักษาและ ป้องกันโรคบางโรค ยังคงอยู่ในความมืดมน

 

ขอบคุณภาพประกอบ : https://www.agingcare.com/

        ′อัลไซเมอร์′ เป็นหนึ่งในโรคที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถคิดค้นวิธีการป้องกันและรักษาได้ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทกุปี

       ปัจจุบันมีผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณ 44 ล้านคนทั่วโลก ในประเทศไทยจากการสำรวจล่าสุด ปี 2555 มีจำนวนผู้ป่วยขึ้นทะเบียนประมาณ 600,000 ราย ในความเป็นจริง ณ ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยอาจมีมากถึง 1 ล้านคนแล้ว

        อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่มักเริ่มจากอาการหลงลืม ญาติหรือผู้ดูแล และแม้กระทั่งแพทย์เองอาจมอง ข้ามสัญญาณเหล่านั้นและคิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงวัย จนกระทั่งอาการของ โรคทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนญาติหรือผู้ดูแลไม่สามารถดูแลได้ กลายเป็นปัญหาข้อขัดแย้งในครอบครัว และส่งผลให้ผู้ป่วยถูกทอดทิ้ง ละเลย และถูกทำร้ายได้ในบางกรณี

อาการหลักของ โรคอัลไซเมอร์ มักจะพบบ่อยประมาณ 70-90 % ของผู้ป่วย คือ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ พูดซ้ำๆ หลงลืม ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย สับสนเกิดภาพหลอน

        ญาติหรือผู้ดูแลมักไม่เข้าใจและไม่สามารถรับมือกับ พฤติกรรมเหล่านั้นได้ ส่วนใหญ่การดูแลมักจะจบลงด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง และการไม่ใส่ใจกับผู้ป่วยจะส่งผลให้อาการของโรค ทรุดลงอย่างรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

        การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ถูกต้อง ผู้ดูแลต้องใช้ความอดทน เข้าใจในอาการป่วยของโรคอย่างถ่องแท้ ต้องทำความเข้าใจว่าทำไมผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ถึงมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

        สิ่งที่ผู้ดูแลควรเข้าใจเป็นอันดับแรกคือสาเหตุและ อาการของโรค ผู้ป่วยอัลไซเมอร์คือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการทำงานของ สมอง ที่ส่งผลต่อการรับรู้ การสื่อสาร และความจำ กอปรกับผู้ป่วยบางรายมีความเสื่อมของประสาทสัมผัส เช่น หูตา รสชาติ ร่วมด้วยทำให้ผู้ป่วยมีข้อจำกัดมากมายในการใช้ชีวิตประจำวัน

        ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องพึงระลึกเสมอว่าด้วย ความบกพร่องของอวัยวะทำให้ผู้ป่วยจะมีโลกของตนเองที่ไม่เหมือนคนปกติทั่วไป ลองจินตนาการว่าหากวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมาและไม่สามารถมองเห็นวัตถุสิ่งของ ชัดเจนเหมือนเคย ไม่สามารถได้ยินเสียงที่คนรอบข้างพูดได้ถนัดเพราะมีเสียง รบกวนภายในหูอยู่ตลอดเวลา
        หยิบจับสิ่งของต่างๆ ไม่ถนัดเพราะกะระยะไม่ถูก แถมนึกคำพูด นึกชื่อคน นึกเรื่องราวลางๆ ไม่ออก ถ้ามีอาการอย่างนั้น เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะโมโห จะโกรธ จะสับสน จะหวาดกลัวขนาดไหน ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ก็จะรู้สึกเช่นเดียวกัน เพราะระบบความคิด ความจำ การรับรู้ของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป ผู้ป่วยจึงต้องการความรักและความเข้าใจจากญาติและผู้ดูแลมากที่สุด

5 สิ่งที่ผู้แลต้องเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

    1.เข้าใจว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจำและอาจลืมเรื่อง ราวต่างๆในอดีตหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดเมื่อไม่นานดังนั้นการพดูเรื่อง เดิมๆถามเรื่องซ้ำๆจึงเป็นเรื่องปกติ

    2.เข้าใจว่าความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้ผู้ป่วยอาจมองเห็นไม่ชัด  ได้ยินไม่ชัด จึงไม่เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสาร ดังนั้นเราอาจต้องพูดดังขึ้น พูดย้ำและอธิบายให้มากขึ้น

    3.เข้าใจว่าผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการ ได้ทั้งหมดทำให้บางครั้งผู้ป่วยเกิดความหงุดหงิดโมโหสับสน ก้าวร้าว ดังนั้นจึงต้องช่วยผู้ป่วย โดยหมั่นสังเกตดูแลสภาพร่างกายผู้ป่วยและสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะต่อการดำรง ชีวิต

    4.เข้าใจว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกเหมือนเราทั่วไป บางวันรู้สึกดีบางวันรู้สึกไม่ดี ดังนั้นการกระทำหรือพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจขึ้นลงแล้วแต่อารมณ์และแรงกระตุ้น จากภายนอก

    5.เข้าใจว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกและความคิดเหมือนคน ปกติเพียงแค่ความบกพร่องด้านการรับรู้สื่อสาร ตีความหมาย ดังนั้นการดูแลด้วยความรักและให้ความอบอุ่นจึงเป็นพื้นฐานการดูแลที่สำคัญ ที่สุด

           เหนือสิ่งอื่นใดญาติและผู้ดูแลต้องพึงระลึกไว้เสมอ ว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทุกรายมีคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเองเช่นเดียวกับเราทุก คนไม่ว่าผู้ป่วยจะรับรู้ จดจำสิ่งรอบตัวได้มากน้อยแค่ไหน หรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมอย่างไร ผู้ป่วยยังคงความเป็นคน ยังมีคุณค่า ยังคงมีศักดิ์ศรีและยังมีอดีตที่น่าจดจำและควรค่าแก่การเคารพ ดังนั้นญาติ หรือผู้ดูแลควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์เฉกเช่นบุคคลสามัญตลอดเวลา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook