10 วิธี จัดการกับความโกรธ ก่อนมันจะย้อนมาทำร้ายเรา

10 วิธี จัดการกับความโกรธ ก่อนมันจะย้อนมาทำร้ายเรา

10 วิธี จัดการกับความโกรธ ก่อนมันจะย้อนมาทำร้ายเรา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จัดการกับความโกรธ นับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นอย่างมาก ฉะนั้น มาเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์โกรธกัน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

ความโกรธคืออะไร

ความโกรธคือการโต้ตอบตามธรรมชาติต่อภัยคุกคามต่างๆ ที่เรารับรู้ได้ ซึ่งนั่นจะทำให้ร่างกายหลั่งสารอะดรีนาลีนออกมา ทำให้กล้ามเนื้อตึงตัว หัวใจเต้นเร็ว และมีความดันโลหิตพุ่งขึ้นสูง ความรู้สึกจะเกิดขึ้นรุนแรง ใบหน้าจะมีเลือดสูบฉีดจนเป็นสีแดง และความโกรธจะกลายเป็นปัญหา ถ้าหากเราไม่สามารถควบคุมมันเอาไว้ได้

 

ความโกรธอาจไม่ใช่เรื่องแย่ก็ได้

ความรู้สึกโกรธอาจไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะความโกรธอาจช่วยให้ใครๆ รับรู้ถึงความวิตกกังวลของคุณได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นมาเหยียบย่ำคุณได้ นอกจากนี้ยังการกระตุ้นให้คุณทำอะไรในทางที่ดีด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือคุณต้องจัดการกับความโกรธให้ถูกวิธี

 

วิธีจัดการกับความโกรธ

เวลาที่มีความรู้โกรธเกิดขึ้นนั้น คุณก็ควรจัดการกับความโกรธนั้นด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. คิดก่อนพูด

ในช่วงที่เรากำลังมีอารมณ์เดือดดาลอยู่นั้น เราอาจจะพูดจาอะไรที่ฟังดูรุนแรงออกไปได้ง่าย ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เราต้องมานั่งเสียใจทีหลังก็ได้ ฉะนั้นก็ใช้เวลารวบรวมความคิดซักแปล๊บนึง ก่อนจะพูดอะไรออกไป รวมทั้งให้คนอื่นๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์มีโอกาสได้ทำแบบเดียวกับคุณด้วย

 

2. เมื่อรู้สึกสงบ ค่อยแสดงความโกรธ

ทันทีที่คุณคิดได้แล้ว ก็แสดงความขับข้องใจของคุณออกไปอย่างแน่วแน่ แต่ไม่ใช่ในแบบท้าตีท้าต่อย ระบุความกังวลและความต้องการของคุณออกไปให้ชัดเจนและตรงไปตรงมา โดยไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเจ็บ หรือพยายามจะควบคุมอีกฝ่ายให้อยู่ภายใต้ความเดือดดาลของคุณ

 

3. ออกกำลังกายบ้าง

กิจกรรมที่ได้ใช้ร่างกายนั้นสามารถช่วยลดความเครียด ที่อาจก่อให้เกิดเป็นอารมณ์โกรธขึ้นมาได้ ฉะนั้นถ้าคุณรู้สึกว่าอารมณ์กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นล่ะก็ ออกไปเล่นเร็วๆ หรือวิ่งซะ หรือทำกิจกรรมอะไรที่ได้ใช้ร่างกาย และสร้างความเพลิดเพลินให้คุณได้

 

4. ขอเวลาสงบอารมณ์

การขอเวลาสงบอารมณ์ไม่ได้ไว้ใช้กับเด็กที่ชอบอาละวาดเท่านั้นนะ ฉะนั้น ก็ขอเวลาพักใจซะในช่วงที่ดูเหมือนจะมีเรื่องเครียดๆ เกิดขึ้น การได้สงบอารมณ์คนเดียวเงียบๆ อาจช่วยให้คุณรู้สึกพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ทำให้เกิดความบาดหมางหรือความโกรธ

 

5. หาวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้

แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธ ก็คิดหาวิธีแก้ไขปัญหาในเรื่องนั้นจะดีกว่า ห้องนอนรกๆ ของลูกน้อยทำให้คุณเป็นบ้าใช่มั้ย? ปิดประตูซะ คนรักมาดินเนอร์กับคุณช้าเป็นประจำเหรอ? ก็ขยับเวลาดินเนอร์ออกไปให้ช้าขึ้นอีกนิด หรือตกลงกันว่าต่างคนต่างกินในวันธรรมดา จงเตือนตัวเองเอาไว้เสมอว่า ความโกรธไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น มีแต่จะทำให้อะไรๆ แย่ลง

 

6. ใช้คำว่า "ฉัน" ในการอธิบาย

หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์หรือการตำหนิ ซึ่งนั่นอาจทำให้สถานการณ์เต็มไปด้วยความรุนแรงมากขึ้น ใช้คำว่า "ฉัน" ในการชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาดีกว่า โดยควรจะอยู่ในขอบเขตของความยำเกรงและมีรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น การพูดว่า "ฉันรู้สึกโกรธที่คุณลุกออกจากโต๊ะกินข้าว โดยไม่เสนอตัวที่จะช่วยฉันล้างถ้วยล้างชามเลย" แทนที่จะพูดว่า "คุณไม่เคยช่วยทำงานบ้านอะไรเลย"

 

7. อย่าเก็บงำความโกรธเอาไว้

การให้อภัยคืออาวุธลับที่ทรงพลัง ถ้าคุณปล่อยให้ความโกรธหรือความรู้สึกทางด้านลบ มามีอนุภาพเหนือความรู้สึกทางด้านบวกล่ะก็ คุณอาจจะพบว่าคุณเองนั่นแหละที่ต้องนั่งระทมทุกข์อยู่กับความขมขื่น หรือความรู้สึกไม่ยุติธรรม แต่ถ้าคุณให้อภัยคนที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธได้ คุณทั้งคู่ก็อาจจะได้บทเรียน และช่วยให้ความสัมพันธ์กระชับแน่นกันมากขึ้น

 

8. ใช้อารมณ์ขันสลายความเครียด

ความร่าเริงอาจช่วยลดความตึงเครียดลงได้ ใช้อารมณ์ขันในการช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกโกรธได้ และอย่าได้คาดหวังให้อะไรๆ คลี่คลายแบบไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้ก็หลีกเลี่ยงการใช้คำเสียดสี ซึ่งจะทำร้ายความรู้สึก และทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายเข้าไปกันใหญ่

 

9. ฝึกทักษะการผ่อนคลาย

เมื่อความรู้สึกโกรธผุดขึ้นมา ก็ใช้ทักษะการทำให้รู้สึกผ่อนคลายยับยั้งเอาไว้ซะ โดยฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ หรือจินตการถึงฉากหลังที่ชวนให้รู้สึกผ่อนคลาย หรือท่องคำหรือวลีที่ชวนให้รู้สึกสงบซ้ำไปซ้ำมา เช่นท่องวลีทีว่า "ใจเย็นๆ เอาไว้" นอกจากนี้ก็อาจใช้วิธีฟังเพลง เขียนบันทึก หรือเล่นโยคะซักสองสามท่า หรือทำอะไรก็ได้ที่ช่วยให้คุณรู้สึกสงบเยือกเย็นลงได้ 

 

10. รู้ว่าเมื่อไรที่ต้องขอความช่วยเหลือ

การเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์โกรธนั้นเป็นเรื่องท้าทาย แต่ถ้าความรู้สึกโกรธนั้นเกินจะควบคุมไหว คุณก็ต้องร้องขอความช่วยเหลือแล้วล่ะ เนื่องจากความโกรธที่เกินจะควบคุมนั้น อาจก่อให้คุณทำอะไรที่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง หรือทำอะไรให้คนรอบข้างต้องชอกช้ำระกำใจได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook