ธาตุ "สังกะสี" ส่งผลต่อความดันโลหิต-หัวใจ-หลอดเลือดได้

ธาตุ "สังกะสี" ส่งผลต่อความดันโลหิต-หัวใจ-หลอดเลือดได้

ธาตุ "สังกะสี" ส่งผลต่อความดันโลหิต-หัวใจ-หลอดเลือดได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธาตุสังกะสี และความดันโลหิต นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เนื่องจากธาตุสังกะสีนั้นเป็นธาตุโลหะที่จำเป็นต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด แต่ถ้ามีธาตุสังกะสีในปริมาณที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็อาจส่งผลต่อความดันโลหิตของเราได้

ธาตุสังกะสี และความดันโลหิต

ธาตุสังกะสีคือธาตุโลหะที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ ที่พบได้ในเซลล์ของร่างกายทุกๆแเซลล์ และเป็นธาตุโลหะที่พบได้จากอาหารที่เราทานเข้าไปด้วย ถ้าร่างกายมีสังกะสีอยู่น้อยเกินไป หรือตกอยู่ในภาวะการขาดธาตุสังกะสี ก็อาจทำให้การรับรู้รสเค็มเปลี่ยนไปได้ และถ้าคุณขาดธาตุสังกะสีมาตั้งแต่เด็ก ก็มีโอกาสจะพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในอนาคต

และถ้าร่างกายมีสังกะสีอยู่มากเกินไป ก็อาจเป็นต้นเหตุของปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะมีภาวะเครียดจากการออกซิเดชั่น จนนำไปสู่ความดันโลหิตที่เพิ่มมากขึ้นได้

ธาตุสังกะสียังมีผลกระทบต่อแร่ธาตุอย่างอื่นด้วย เช่น การรับธาตุสังกะสีเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป อาจทำให้ระดับของทองแดงในร่างกายลดลง ซึ่งการขาดธาตุทองแดงก็จะทำให้หัวใจและเส้นเลือดมีปัญหาได้ และความไม่สมดุลระหว่างธาตุสังกะสี และธาตุทองแดง ก็สามารถก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงได้

นอกจากนี้ยังใช้ธาตุสังกะสีสำหรับโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคตาบอดตอนกลางคืน สิว ผื่นแพ้เรื้อรัง โรคหัวใจชนิดรุนแรง โรคอัลไซเมอร์ ดาว์ซินโดรม และโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้อีกด้วย

 

ผลกระทบกับยาต้านโรคความดันโลหิตอื่นๆ

ธาตุสังกะสีอาจส่งผลต่อยาในกลุ่ม ACE inhibitors ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง การรับประทานยาชนิดนี้อาจทำให้ธาตุสังกะสีในร่างกายลดลง ซึ่งยาในกลุ่ม ACE inhibitors ก็ได้แก่ ยาเบนาซีพริล (Benazepril) อย่างลอเทนซิน (Lotensin), ยาอีนาลาพริล (Enalapril) อย่างวาโซเทค (Vasotec), ยาโมซิพริล (Moexipril) อย่างยูนิวาสก์ (Univasc) และยาควินาพริล Quinapril อย่างแอคคิวพริล (Accupril)

ธาตุสังกะสียังอาจส่งผลต่อยาขับปัสสาวะด้วย ฉะนั้น การรับประทานยาชนิดนี้ ก็อาจทำให้มีธาตุสังกะสีลดลง เนื่องจากร่างกายจะขับธาตุสังกะสีออกทางปัสสาวะ ถ้าคุณทานยาขับปัสสาวะอยู่ แพทย์ก็อาจจะต้องตรวจวัดระดับแร่ธาตุในร่างกายเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

โดยปกติแล้วการรับประทานอาหารที่มีธาตุสังกะสีเข้าไปนั้น นับเป็นอะไรที่มีความปลอดภัย ซึ่งควรรับประทานตั้งแต่ 8 ถึง 11 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ และ 2 ถึง 9 มิลลิกรัมสำหรับทารกและเด็ก แต่ถ้าแพทย์แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่มากกว่านั้น ก็ไม่เป็นอะไร

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือ การเบื่ออาหาร ความผิดปกติเกี่ยวกับเลือด และโรคหอบหืด เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบไทรอยด์ เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับคอเลสเตอรอล ท้องเสีย วิงเวียน ปากแห้ง จมูกแห้ง ง่วงนอน ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ไตอักเสบ สูญเสียการรับรส มีปัญหากับช่องท้อง เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง อาเจียน อ่อนล้า

ธาตุสังกะสีอาจให้มีเลือดออกได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคนที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ แถมยังทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงด้วย

ธาตุสังกะสีในร่างกายเป็นอะไรที่ส่งผลต่อความดันโลหิตอย่างมาก ฉะนั้น การมีธาตุสังกะสีน้อยมากเกินไป ก็อาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ฉะนั้นจึงควรรรักษาปริมาณของธาตุสังกะสีอยู่ในระดับปกติเอาไว้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook