วิตามินดี ป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ?

วิตามินดี ป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ?

วิตามินดี ป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในปัจจุบัน มีงานวิจัยที่เสนอแนะว่าการรับประทานวิตามินดี สามารถช่วย ป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ได้ ข้อเสนอนี้เป็นจริงหรือไม่ เรามีข้อมูลในเรื่องนี้

อินซูลินคืออะไร

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยเซลล์เบต้าจากตับอ่อน เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ โดยการช่วยการดูดซึมกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือด ไปสู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อต่างๆ และตับ กล่าวคือ อินซูลินควบคุมวิธีการที่ร่างกายใช้ และสำรองกลูโคส

 

อินซูลินกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่สามารถทั้งผลิตอินซูลิน เพื่อจัดการกับปริมาณกลูโคสที่รับประทานเข้าไป หรือร่างกายไม่รับอินซูลินที่ร่ายกายผลิตขึ้นมาเอง ผลก็คือ เมื่อไม่สามารถควบคุมกลูโคสได้ ปริมาณกลูโคสจะสะสมเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีอาการต่างๆ เช่น สายตาไม่ดี มีปัญหาผิว และความดันโลหิตสูง

การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่ง อาการต่างๆ และความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ที่น้ำหนักเกินมักตรวจพบโรคเบาหวานชนิดที่ 2

 

วิตามินดีกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

เป็นที่รู้กันดีว่า วิตามินดีมีประโยชน์ในการผลิตแคลเซียม ซึ่งในทางกลับกัน วิตามินดียังช่วยจัดการปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ด้วย

ในปัจจุบัน นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกต เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการรับวิตามินดี กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พวกเขาสงสัยว่า วิตามินดีสามารถช่วยลดโอกาส หรือความรุนแรงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้จริงหรือไม่

จนถึงทุกวันนี้ ยังมีงานวิจัยบางส่วนที่ระบุว่า คนวัยหนุ่มสาวที่มีระดับวิตามินดีสูงกว่า มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีปริมาณวิตามินดีในร่างกายน้อยกว่า

 

การเพิ่มวิตามินดีในแต่ละวัน

จากดวงอาทิตย์

แสงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งวิตามินดีที่ใหญ่ที่สุด การอยู่กลางแจ้งเพื่อรับแสงอาทิตย์ในตอนเช้า ช่วยให้ร่างกายรับวิตามินดี อย่างไรก็ตาม การอยู่กลางแดดมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาผิวได้ ดังนั้น คุณจึงควรระมัดระวังเกี่ยวกับเวลา และระยะเวลาในการรับแสงอาทิตย์ช่วงเช้าด้วย

จากอาหาร

แหล่งวิตามินดีที่สำคัญจากอาหาร ได้แก่ ไข่ขาว ตับวัว ส้ม ธัญพืช ชีส และปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง สามารถช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในร่างกายได้

จากแหล่งอื่นๆ

อาหารเสริมวิตามินดีและน้ำมันปลา เป็นอีกหนึ่งแหล่งที่ให้วิตามินดี อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเสริม ควรปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมสำหรับแต่ละคน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook