วิ่งในเมือง เสี่ยงหายใจเอาควันพิษเข้าปอดหรือไม่?

วิ่งในเมือง เสี่ยงหายใจเอาควันพิษเข้าปอดหรือไม่?

วิ่งในเมือง เสี่ยงหายใจเอาควันพิษเข้าปอดหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่แปลกที่เหล่านักวิ่งจะชอบออกมาวิ่งกลางสวน หรือริมถนนในเมือง เพราะมันสดชื่นกว่าในฟิตเนสเยอะ แต่หากคุณเป็นนักวิ่งที่อาศัยอยู่ใจกลางเมือง การวิ่งข้างๆ ฝุ่นควันรถยนต์ต่างๆ รวมทั้งมลภาวะทางอากาศอื่นๆ จะทำให้คุณได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นหรือไม่?

มลพิษทางอากาศเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรัง งานวิจัยจากวารสารของสถาบันหัวใจแห่งชาติอเมริกันเก็บข้อมูลจากคนอายุ 50-65 ปีจำนวนกว่า 51,000 คน สำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกาย การเผชิญกับสภาวะมลพิษทางอากาศ (ที่มีก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์) และปัจจัยในการดำรงชีวิตทั่วไป เมื่อผ่านไปเกือบ 18 ปี เกือบ 3,000 คนพบว่าเริ่มมีอาการของโรคหัวใจเป็นครั้งแรก ในขณะที่ 324 คน มีอาการของโรคหัวใจกำเริบ คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์สูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจครั้งแรกมากกว่า 17% และมีอาการโรคหัวใจกำเริบมากกว่า 39% เมื่อเทียบกับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พบมลพิษทางอากาศน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ แม้ว่าคนๆ นั้นจะได้รับควันจากมลพิษทางอากาศตามท้องถนนในระดับปานกลาง ถึงระดับสูงเป็นประจำเช่นกัน คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในระยะแรกน้อยกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายถึง 15% แม้ว่าจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าสภาวะแวดล้อมภายนอกอาจจะดูไม่ปลอดโปร่งใสสะอาดเหมือนอากาศท่ามกลางหุบเขา แต่การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง ต่อสู้กับมลภาวะต่างๆ รอบตัวได้อยู่ดี

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ในพื้นที่ไหน อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook