สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างออกด้วยน้ำเปล่าหรือไม่?

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างออกด้วยน้ำเปล่าหรือไม่?

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างออกด้วยน้ำเปล่าหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผักผลไม้ที่เราทานกันอยู่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากผลผลิตทางการเกษตรที่มีการปลูกกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ วางจำหน่ายครั้งละจำนวนมหาศาล การดูแลผักผลไม้จำนวนมากด้วยวิธีที่สะดวกรวดเร็ว คือการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นแมลงต่างๆ หรือโรคร้ายจากเพลี้ย เชื้อรา และอื่นๆ ที่ทำลายคุณภาพของพืช แต่การใช้สารเคมีเหล่านี้จะปลอดภัยต่อมนุษย์อย่างเรามากแค่ไหน การล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าให้ผลดีมากน้อยแค่ไหน?

 

สารเคมีตกค้างในผักผลไม้ ล้างไม่ออก?

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุในเฟซบุคส่วนตัวว่า สารเคมีตกค้างในพืชผักส่วนใหญ่ล้างด้วยน้ำไม่ออก โดยยังหลงเหลือสารตกค้างอยู่ในผักผลไม้ได้มากถึง 60% (มีตัวอย่างการแช่ผักประเภทหัวกะหล่ำ อย่างผักกาดขาว ในน้ำใส่สี พบว่าผักดูดซึมน้ำใส่สีนั้นเข้าไปในผักอย่างเห็นได้ชัดเจน)

นอกจากนี้สารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทยมีมากถึง 280 ชนิด แต่ที่สุ่มตรวจเจอกันได้เพียง 10% ของจำนวนสารเคมีที่ใช้ในประเทศทั้งหมดเท่านั้น

 

เรายังต้องล้างผักผลไม้ก่อนทานอยู่หรือไม่?

แม้ว่าสารเคมีตกค้างในผักผลไม้จะไม่สามารถล้างออกได้ 100% แต่เรายังมีความจำเป็นต้องล้างผักผลไม้ก่อนทานให้สะอาดทุกครั้ง เพราะนอกจากสารเคมีตกค้างแล้ว ยังมีอันตรายจากไข่พยาธิที่ปนเปื้อนมาจากปุ๋ยคอกที่มีผสมของมูลสัตว์ และสิ่งสกปรกอื่นๆ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสียเมื่อรับประทานผักผลไม้สดๆ เข้าไปในร่างกายอีกด้วย

 

วิธีลดอันตรายจากสารเคมีตกค้างในผักผลไม้

  1. เลือกซื้อผักผลไม้อินทรีย์ ที่ไม่ใช้ หรือใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชน้อยที่สุด โดยสังเกตจากตรารับรองจากราชการ ที่มีการควบคุมปริมาณในการใช้สารเคมีให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หรือยืนยันว่าไม่มีการใช้สารเคมีจริง

  2. บริโภคผักพื้นบ้าน ที่ปลูกง่าย ไม่ค่อยมีโรค และแมลงรบกวนมาก เช่น หน่อไม้ กระถิน หัวปลี ยอดแค แตงร้าน สะตอ ถั่วงอก ฟักทอง บวบ ใบชะพู ผักกูด สายบัว ใบโหระพา ใบยอ ใบแมงลัก ใบขี้เหล็ก ตำลึง ยอดแค ยอดมะละกอ ชะอม เป็นต้น

  3. เลือกผักที่มีรูพรุนจากการแทะของแมลง หรือหนอนบ้าง เพราะแปลว่าไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงมากเกินไป

  4. เลือกทานผักที่ปรุงสุกด้วยความร้อน เช่นการต้ม ลวก ช่วยลดสารพิษได้มาก (หากต้ม หรือลวกผัก ควรเทน้ำทิ้ง)

  5. ปอกเปลือกชั้นนอกออกก่อนทาน เช่น กะหล่ำปลี ลอกใบด้านนอกออกเล็กน้อยก่อนทาน

  6. ล้างผักอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นการล้างน้ำผ่านก๊อก น้ำยาล้างผัก แช่น้ำก่อนล้าง น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต และอื่นๆ

>> ตรวจพบผัก 10 ชนิดมี "สารเคมี-ยาฆ่าแมลง" ตกค้างสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook