5 วิธีรักษารอยแผลเป็นนูน "คีลอยด์"

5 วิธีรักษารอยแผลเป็นนูน "คีลอยด์"

5 วิธีรักษารอยแผลเป็นนูน "คีลอยด์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รอยแผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid)

คีลอยด์หรือแผลเป็นนูน คือแผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังจากที่แผลหายหรือหายดีแล้วสักพัก โดยขนาดอาจขยายใหญ่กว่ารอยแผลเดิมที่เกิดขึ้น สีแตกต่างกันตามสภาพสีผิวแต่ละบุคคล พบได้ตั้งแต่สีชมพู แดง ถึงน้ำตาลเข้ม จากการมีเส้นเลือดฝอยมารวมกันมาก ส่วนมากมีลักษณะแข็งคล้ายยาง เป็นมันเงา และไม่มีขนขึ้น ซึ่งแม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด  แต่ก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง อีกทั้งยังส่งผลทางด้านความสวยความงามอีกด้วย

ทั้งนี้สาเหตุของแผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย ที่โดยปกติจะมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนมาซ่อมแซมบริเวณแผลดังกล่าวจนหายดี แต่หากมากเกินปกติจะเกิดการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน โดยเฉพาะคอลลาเจน บริเวณปากแผล ทำให้แผลเป็นบริเวณดังกล่าวมีลักษณะกว้างและนูนขึ้น อย่างไรก็ตามแผลเป็นคีลอยด์เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และยังอาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมด้วย ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นแผลเป็นคีลอยด์ จึงมีโอกาสเกิดแผลเป็นชนิดนี้มากกว่าคนอื่นๆ

 

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์

  1. การใช้แผ่นแปะแผลเป็นคีลอยด์

  2. การใช้ยาทาแผลเป็นคีลอยด์ ทั้งแบบครีมและแบบเจล

  3. การฉีดแผลเป็นคีลอยด์

  4. การใช้ความเย็นจัดในการรักษา

  5. การผ่าตัดคีลอยด์ ซึ่งทำได้เฉพาะในบางกรณี และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

แผลเป็นคีลอยด์มักจะไม่ยุบหรือหายไปเอง จำเป็นต้องมีวิธีรักษาที่จำเพาะ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี โดยแต่ละวิธีใช้ระยะเวลาที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามหากแผลคีลอยด์ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้อง จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook