อาหาร "ต้องห้าม" ของผู้ป่วยโรค "ตับ"

อาหาร "ต้องห้าม" ของผู้ป่วยโรค "ตับ"

อาหาร "ต้องห้าม" ของผู้ป่วยโรค "ตับ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเป็นโรคตับหมายความว่า คุณไม่สามารถรับประทานในแบบที่คุณต้องการ และในสิ่งที่คุณต้องการได้อีกต่อไป ในทางกลับกัน ในตอนนี้คุณจำเป็นต้องได้รับอาหารพิเศษที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมไปพร้อมทั้งกับป้องกันตับของคุณไม่ให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นได้ โรคตับที่มีหลายประเภท ทำให้คุณจำเป็นต้องมีแผนการรับประทานอาหารที่แตกต่างออกไป โดยมีข้อห้ามเฉพาะ และนี่คือ โรคตับกับอาหาร "ต้องห้าม" ที่คุณควรรู้

 

  1. โรคสมองจากโรคตับ

โรคสมองจากโรคตับ (Hepatic encephalopathy) หมายถึงอาการทางสุขภาพ ที่เนื้อเยื่อแผลเป็นที่รุนแรงก่อตัวขึ้นภายในตับ เป็นการขัดขวางกระแสเลือดที่ลำเลียงผ่านตับตามปกติ เลือดที่ต้องกำจัดของเสียที่ตับ ไหลกลับไปยังระบบไหลเวียนโลหิตส่วนกลาง ทำให้เกิดหน้าที่การทำงานทางจิตใจที่บกพร่อง การรักษาโรคสมองจากโรคตับ ให้ความสำคัญกับการลดปริมาณสารพิษ อย่างเช่น แอมโมเนีย ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการย่อยโปรตีน ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยทุกรายต้องมีข้อจำกัดในการรับประทานโปรตีน ผู้ที่รักษาโรคสมองที่ไม่ตอบสนองต่อแลคทูโลส (lactulose) หรือนีโอมัยซิน (nemycin) เท่านั้น ที่ต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่ต่ำ โดยแท้จริงแล้ว การบริโภคโปรตีนน้อยกว่า 20 กรัมต่อวัน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ในการรักษาระยะยาว และแพทย์ไม่แนะนำการรักษาด้วยวิธีนี้

 

  1. ท้องมานและอาการบวมน้ำ

ท้องมาน (Ascites) เป็นอาการที่ช่องท้องของผู้ป่วย มีการสะสมของเหลว อาการบวมน้ำ (Edema) หมายถึงการที่ของเหลวก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อ ที่มักจะเป็นที่เท้า ขา หรือหลัง ทั้งท้องมานและอาการบวมน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของโซเดียมที่ผิดปกติ ร่วมกับความดันโลหิตในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) และโรคตับ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มักต้องจำกัดการบริโภคโซเดียม ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2 ถึง 3 กรัมโดยงดอาหารกระป๋อง ไส้กรอกหรือเนื้อสำเร็จรูปทั้งหลาย เครื่องเทศ และเนยแข็งบางประเภท เพื่อทดแทนอาหารดังกล่าว ผู้ป่วยสามารถใช้น้ำมะนาวได้

 

  1. น้ำดีคั่ง

เมื่อมีภาวะน้ำดีคั่ง (Cholestasis) ตับจะไม่สามารถกำจัดน้ำดีได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะอุจจาระมีไขมันมาก (steatorrhea) หรือภาวะดูดซึมไขมันบกพร่อง (fat malabsorption) อาการคืออุจจาระมีไขมันปนและมีกลิ่นเหม็น ผู้ที่มีภาวะน้ำดีคั่งสามารถรับประทานอาหารเสริมไขมัน เพื่อเป็นตัวช่วยได้ อาหารเสริมดังกล่าว ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์สายกลาง (medium-chain triglycerides) น้ำมัน MCT oil หรือน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเหล่านี้สามารถดูดซึมได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำดีจากตับ ภาวะอุจจาระมีไขมันมาก ยังขัดขวางการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค โชคดีที่ยังมีอาหารเสริมที่ใช้ทดแทนได้ สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติคือ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

 

  1. โรควิลสัน

โรควิลสัน (Wilson disease) เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะการเผาผลาญธาตุทองแดงบกพร่อง ดังนั้น ผู้ป่วยโรควิลสันจะมีทองแดงสะสมอยู่ในอวัยวะจำนวนมากภายในร่างกาย ตั้งแต่ตับไปจนถึงสมอง และแม้กระทั่งกระจกตา ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยากำจัดทองแดงหรือยาเพนิซิลลามีน (penicillamine) เพื่อกำจัดทองแดงส่วนเกิน นอกจากนี้ ผู้ป่วยไม่ควรบริโภคอาหารใด ๆ ที่มีทองแดง เช่น ช็อคโกแล็ต ถั่ว หอย และเห็ด

 

  1. ภาวะเหล็กเกิน

ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) เกิดขึ้นเมื่อลำไส้ไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเหมาะสม ธาตุเหล็กส่วนเกินสะสมอยู่ในตับ ตับอ่อน รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินไม่ควรรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารตามปกติได้

 

  1. ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ (Fatty liver) ไม่ได้เกิดจากการรับประทานไขมัน แต่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ โรคอ้วน การอดอาหารบางชนิด และปัจจัยอื่นๆ ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับควรรับประทานอาหารที่สมดุล ร่วมกับการกำจัดสารเคมีหรือยาประเภทต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook