รู้จักฮอร์โมน “กลูคากอน” สำหรับคนอยากหุ่นดี

รู้จักฮอร์โมน “กลูคากอน” สำหรับคนอยากหุ่นดี

รู้จักฮอร์โมน “กลูคากอน” สำหรับคนอยากหุ่นดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในร่างกายของเรามีฮอร์โมนที่สำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายอยู่หลายชนิด แต่ฮอร์โมน “กลูคากอน” อาจไม่ค่อยเป็นที่คุ้นตาคุ้นหูมากนัก ทั้งที่จริงแล้วมีความสำคัญต่อร่างกายมากมายไม่แพ้ฮอร์โมนชนิดอื่นๆ

 

ฮอร์โมนกลูคากอน คืออะไร?

ฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ โดยผลิตขึ้นมาจากเซลล์ชนิดหนึ่งในตับอ่อนที่ชื่อว่า Alpha cells ฮอร์โมนกลูคากอนมีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสเข้าไปในกระแสเลือด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของตับให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่สะสมเอาไว้ในรูปแบบของ “ไกลโคเจน” ให้เป็น “กลูโคส” เพื่อนำมาไหลเวียนผ่านกระแสโลหิตในร่างกาย และฮอร์โมนกลูคากอนยังช่วยสังเคราะห์กรดอะมิโน และกรดไขมันเพื่อเปลี่ยนให้เป็นกลูโคสให้มากขึ้นในช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการกลูโคสเพิ่มอีกด้วย

 

ฮอร์โมนกลูคากอน VS ฮอร์โมนอินซูลิน

จากการทำงานของฮอร์โมนกลูคากอนที่เข้าไปเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ทำให้สังเกตได้ว่าฮอร์โมนกลูคากอนทำงานตรงกันข้ามกับฮอร์โมนอินซูลินที่เข้าไปลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นทั้งฮอร์โมนกลูคากอน และฮอร์โมนอินซูลินจึงทำหน้าที่คอยเพิ่ม และลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะสมดุลนั่นเอง

 

อันตรายจากภาวะฮอร์โมนกลูคากอนต่ำ

หากในร่างกายอยู่ในภาวะฮอร์โมนกลูคากอนต่ำ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งปกติภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจจะเกิดขึ้นได้ในตอนเช้าที่ลุกขึ้นจากเตียงเร็วๆ แล้วตาลาย หน้ามืด แต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะมีอาการที่ดีขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป แต่หากอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย ดังนี้

  • หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน

  • เหงื่อออกง่าย

  • กระวะกระวายใจ มือสั่น อยู่ไม่สุข

  • หัวใจเต้นแรง รู้สึกหวิวๆ เหมือนจะเป็นลม

  • ตัวเย็น มือเย็น รู้สึกชาๆ ที่ปาก และใบหน้า

  • ง่วงซึม อ่อนเพลีย ไม่ค่อยตอบสนอง ไม่ค่อยมีสติ พูดจาไม่รู้เรื่อง

  • อาจชัก หรือหมดสติได้ หากถึงโรงพยาบาลช้า อาจเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

หากพบว่าร่างกายอยู่ในภาวะน้ำตาลต่ำ อาจได้รับการฉีดฮอร์โมนกลูคากอนเพิ่มในระหว่างการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การรักษา

 

ฮอร์โมนกลูคากอน กับการออกกำลังกาย

ที่บอกว่าอยากหุ่นดี ต้องรู้จักฮอร์โมนกลูคากอน เพราะหากเราออกกำลังกายในช่วงที่ฮอร์โมนกลูคากอนทำงานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำตากลูโคสในร่างกายด้วยการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่สะสมเอาไว้ในรูปแบบของ “ไกลโคเจน” ให้เป็น “กลูโคส” การออกกำลังกายก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธาพในการเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้มากขึ้นไปด้วยนั่นเอง แถมร่างกายยังไม่อ่อนเพลียเพราะอยู่ในระหว่างการเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในร่างกายด้วย

ฮอร์โมนกลูคากอนจากตับอ่อนจะหลั่งออกมาสูงสุดในช่วง 90 นาทีแรกของการออกกำลังกาย จากนั้นจะค่อยๆ ลดปริมานลง ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานได้สูงสุก จึงไม่ควรเกิน 90 นาที หรือ 1.30 ชั่วโมงนั่นเอง โดยการออกกำลังกายเพื่อการเผาผลาญพลังงานที่แนะนำ คือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง ปั่นจักรวาน แอโรบิค ว่ายน้ำ และการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ หรือจะเป็นการออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High Intensity Interval Training คือการออกกำลังกายแบบเข้มข้นสูง เพื่อให้ร่างกายดึงเอาคาร์โบไฮเดรตออกมาเป็นพลังงานระหว่างออกกำลังกาย และเริ่มดึงเอาไขมันมาใช้ทดแทน ซึ่งสามารถเกิดภาวะ After Burn หรือร่างกายเผาผลาญพลังงานในร่างกายอย่างต่อเนื่องแม้จะหยุดออกกำลังกายไปแล้ว แต่เป็นการออกกำลังที่มีความทรมานถึงขั้นไม่แนะนำให้ทำเกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และแพทย์ประจำตัวก่อนเริ่มออกกำลังกายในลักษณะนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook