วิธี "วัดความดันโลหิต" ด้วยตัวเอง ทำอย่างไรให้ถูกต้อง
ความดันโลหิตของคุณสามารถบอกบางอย่าง เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณได้ โชคดีที่คุณไม่จำเป็นต้องไปหาแพทย์ เพื่อทำการตรวจวัดระดับความดันโลหิตทุกครั้ง บทความนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการตรวจ วัดความดันโลหิต ด้วยตัวเองที่บ้าน
การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจ
สิ่งที่คุณควรเตรียมตัวก่อนทำการวัดระดับความดันโลหิตมีดังนี้
- คุณจำเป็นต้องฟังเสียงชีพจร ฉะนั้น คุณจึงควรหาที่เงียบสงบ ควรนั่งพักเป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาที ก่อนที่จะทำการวัดระดับความดันโลหิต
- ควรทำกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง เพื่อที่คุณจะได้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ อย่าวัดระดับความดันโลหิตหากคุณรู้สึกตึงเครียด เพิ่งออกกำลังกาย รับประทานคาเฟอีน หรือสูบบุหรี่ ภายใน 30 นาทีที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อผลการตรวจได้
- ควรนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ เอนหลังหลังให้พิงกับเก้าอี้ ไม่ควรไขว้ขา และวางเท้าราบกับพื้น
- หากคุณกำลังใส่เสื้อแขนยาว ควรม้วนแขนเสื้อขึ้นไป หากกำลังใส่เสื้อผ้ารัดแขนแน่นๆ ให้ถอดออกเสีย
- วางแขนไว้ที่ระดับเดียวกับหัวใจ
ขั้นตอนในการวัดระดับความดันโลหิต
คุณสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง
- เริ่มต้นจากการวัดชีพจร วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่ตรงกลางพับข้อศอก
- พันผ้ารอบต้นแขน ส่วนขอบล่างของผ้า (ส่วนหัวของหูฟังแพทย์) ควรอยู่เหนือพับข้อศอก 2.5 เซนติเมตร บริษัทผู้ผลิตอาจจะใส่ลูกศรเพื่อช่วยให้คุณทราบตำแหน่งของหูฟังของแพทย์
หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบควบคุมด้วยมือ
- ใส่หูฟังของแพทย์เพื่อฟังเสียงหัวใจเต้น แขนข้างหนึ่งถือเกจวัดความดัน (ดูเหมือนนาฬิกา) และแขนอีกข้างถือส่วนกระเปาะไว้
- ปิดวาวล์ไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ (ตรงเข็มนาฬิกาข้างกระเปาะ)
- บีบกระเปาะให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตพองขึ้น ขณะที่คอยจับตาดูเกจวัดความดัน หยุดบีบเมื่อเกจ์ขึ้นไปถึง 30 มิลลิเมตรปรอท เหนือความดันตัวบน (systolic pressure) ที่คาดการณ์ไว้ (ตัวเลขบนของค่าความดันโลหิต) คุณจะรู้สึกแน่นที่ต้นแขน
- ขณะที่กำลังจับตามองดูเกจวัดความดัน ให้ค่อยๆ เปิดวาล์วไหลเวียนอากาศที่กระเปาะ
- ตั้งใจฟังเสียงให้ดี เมื่อได้ยินเสียงชีพจรให้จดจำค่าตัวเลขที่เกจวัดความดัน นับเป็นค่าเลขตัวบน เมื่อคุณได้ยินเสียงครั้งสุดท้ายให้จดบันทึกตัวเลขเป็นค่าความดันตัวล่าง (diastolic pressure)
- คุณจะไม่ได้ยินเสียงชีพจร หากคุณปล่อยให้ปลอกแขนวัดความดันโลหิตยุบเร็วเกินไป ควรทำตามขั้นตอนข้างบนอีกครั้ง หลังจากผ่านไป 1 นาที
หากคุณใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล
- กดปุ่มที่เครื่องวัดความดัน
- ปลอกแขนวัดความดันโลหิตจะพองตัวขึ้น และคุณจะรู้สึกแน่นที่ต้นแขน
- ให้จดบันทึกค่าที่แสดงขึ้นบนหน้าจอของเครื่องวัดความดัน
แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณทำการวัดความดันโลหิตในเวลาที่แน่นอน คุณสามารถจดบันทึก และนำไปให้แพทย์ดูเมื่อถึงเวลาที่แพทย์นัดพบ
ทำความเข้าใจกับผลการตรวจ
คุณควรวัดระดับความดันโลหิตของคุณ 2 ถึง 3 ครั้งในคราวเดียว และใช้ตัวเลขที่คุณเห็นบ่อยที่สุด ผลการตรวจของคุณจะมีสองตัวเลข ตัวเลขบนคือค่าความดันตัวบน (120 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่านั้น คือค่าปกติ) ตัวเลขล่างคือค่าความดันตัวล่าง (80 มิลลิเมตรปรอท หรือน้อยกว่านั้น คือค่าปกติ) หากตัวเลขบนของคุณคือ 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า หรือตัวเลขล่างของคุณคือ 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า นั่นหมายความว่าคุณมีโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) หากค่าความดันโลหิตของคุณนั้นมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่น้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท หมายความว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงเบื้องต้น (pre-hypertension)
แม้ว่าคุณจะยังไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ความเสี่ยงของคุณก็มีมาก ควรติดต่อแพทย์ ควรจำไว้ว่าเวลาส่วนใหญ่นั้น คุณจะไม่มีอาการใดๆ ของภาวะความดันโลหิต ควรตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ วิธีการนี้ไม่เจ็บ รวดเร็ว และง่าย และคุณสามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง การวัดระดับความดันโลหิตจะช่วยให้คุณจัดการกับโรคได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง