ป่วยเป็น "พาร์กินสัน" ออกกำลังกายยังไงให้เหมาะสม
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหลายคน คงกังวลกับการออกกำลังกายว่า สามารถทำได้จริงหรือ จะทำให้อาการเลวร้ายลงไปได้หรือเปล่า ผู้ป่วย พาร์กินสัน ออกกำลังกาย ยังไงจึงจะเหมาะสม? ความจริงแล้ว การออกกำลังกายมีความสำคัญต่อผู้ป่วยโรคนี้อย่างมาก ดังนั้น มาศึกษาวิธีการและข้อควรระวังต่อไปนี้ เพื่อการออกกำลังกายที่เหมาะสม
การออกกำลังกายสำคัญกับโรคพาร์กินสันอย่างไร
ข้อมูลทางการแพทย์พบว่า การที่ผู้ป่วยพาร์กินสันออกกำลังกายอย่างเป็นประจำมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะสามารถช่วยลดอาการแข็งเกร็ง และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย อีกทั้งยังช่วยในการช่วยการเคลื่อนไหว ท่าทาง การทรงตัว และการเดิน นอกจากนี้การออกกำลังกาย ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ ระบบหลอดเลือด ระบบการหายใจ และระบบสมอง ทั้งนี้ การออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายทั่วไป หรือการออกกำลังกายที่เน้นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้และความจำ ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน
การตอบสนองต่อการออกกำลังกายของผู้ป่วย
ถึงแม้การออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นอย่างมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง การตอบสนองต่อการออกกำลังกาย เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่ง ที่อาจทำให้คนป่วยถอดใจไปเสียก่อน เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสัน มักจะมีการตอบสนองต่อการออกกำลังกายที่ไม่มีรูปแบบชัดเจน ด้วยอาการของโรค ซึ่งเป็นความผิดปกติของการทำงานระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีปัญหาในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในขณะออกกำลังกายจึงมีปัญหาในการระบายความร้อน ไม่มีเหงื่อ นอกจากนี้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ อาจทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหว และใช้พลังงานในการเคลื่อนไหวมาก จึงเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และการใช้ออกซิเจนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของผู้ป่วยพาร์กินสันลดลง
ปัจจัยที่ส่งผลในการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในผู้ป่วยพาร์กินสัน มีปัจจัยต่างๆ มากมาย ซึ่งโดยทั่วสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ ปัจจัยโดยตรง อย่างอาการแสดงของโรค เช่น อาการสั่นกระตุก และอาการเกร็งแข็ง และปัจจัยที่เกิดขึ้นจากความอ่อนล้า ความอดทนของสภาพร่างกายจากการออกกำลังกาย หรืออาการข้อติดที่เกิดจากการทำกิจกรรมน้อย
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
ควรให้มีตารางการฝึกที่ต่อเนื่องเป็นประจำ ซึ่งความถี่ในการฝึกต้องขึ้นอยู่กับตัวของผู้ป่วยเองด้วย โดยแนะนำให้จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบเป็นกลุ่ม เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักแยกตัวเองออกจากสังคม รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน ได้แก่
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
- การออกกำกายอย่างช้าๆ เช่น ไทชิ หรือ โยคะ
- การออกกำลังกายเพื่อฝึกท่าต่างๆ ในการทำงาน
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
- การฝึกเพื่อควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
- พยายามอย่าเคลื่อนตัวเร็ว
ยาอาจมีผลต่อโรคพาร์กินสัน
การรับประทานยาเพื่อรักษาอาการในผู้ป่วยพาร์กินสัน ร่วมกันการออกกำลังกาย อาจส่งผลให้อาการของโรคแย่ลง ดังนั้น ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตอาการและปรึกษาคุณหมอที่รักษาเป็นประจำ
- ยาที่เพิ่มพลาสม่าเลเวล จะส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นหัวใจ หรือทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ
- กรณีการได้รับการเปลี่ยนยา ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เนื่องจากยังไม่ทราบผลกระทบของยาที่แน่ชัดเมื่อออกกำลังกาย
ข้อควรระวังสำหรับ ผู้ป่วยพาร์กินสัน
- ผู้ป่าวยบางรายอาจมีหัวใจเต้นช้าลงทำให้ออกกำลังกายได้ไม่ถึงอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะหัวใจเต้นเร็วอย่างมากขณะออกกำลังกายในช่วงที่ยามีประสิทธิภาพสูงสุด
- ในการออกกำลังกายรูปแบบเดิมแต่มีการรับประทานยาที่มีผลต่อระดับพลาสม่าจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจได้ทุกวัน
- รายที่มีการเปลี่ยนแปลงของอาการบ่อยๆ ให้มีการบันทึกค่าอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และการให้ออกซิเจน ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย เพื่อประมาณช่วงของการเปลี่ยนแปลงได้
- กระจายน้ำหนักให้ลงเท้าทั้งสองข้างอย่างสมดุลกัน
- หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องมีการถอยหลัง