“หัดเยอรมัน” ต่างจากหัดธรรมดาอย่างไร? อันตรายแค่ไหน?

“หัดเยอรมัน” ต่างจากหัดธรรมดาอย่างไร? อันตรายแค่ไหน?

“หัดเยอรมัน” ต่างจากหัดธรรมดาอย่างไร? อันตรายแค่ไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้อาจจะเคยเห็นข่าวกันมาบ้างว่า กระทรวงสาธารณสุขออกมาเตือนภัยชาวไทยที่กำลังจะเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น ให้ระวังโรคหัดเยอรมันที่กำลังระบาดอยู่ในประเทศนั้น หัดเยอรมันเป็นอย่างไร แตกต่างจากหัดธรรมดาอย่างไร และอันตรายแค่ไหน เรามาศึกษากันก่อนจะเดินทางกันดีกว่า

 

หัดเยอรมัน คืออะไร?

โรคหัดเยอรมันเป็นหนึ่งในประเภทของโรคหัดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า Rubella Virus ที่ทำให้มีอาการผื่นขึ้นตามร่างกาย มีไข้ เป็นต้น โดยติดต่อได้จากการสัมผัส หรือสูดดมเอาละอองน้ำลาย และสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่ไอ จามเข้าไปในร่างกาย หรือมือสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย แล้วหยิบของกินเข้าปาก

 

หัดเยอรมัน แตกต่างจากหัดธรรมดาอย่างไร?

หัดเยอรมัน เป็นโรคหัดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุในการเกิดโรคเหมือนโรคหัดธรรมดา คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เพียงแต่โรคหัดเยอรมันเป็นการติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงกว่า โรคหัดเยอรมันมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โรคเหือด หรือโรคหัด 3 วัน เพราะผื่นที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ หายได้เองหลังจากเป็นมา 3 วัน

 

อาการของโรคหัดเยอรมัน

  • มีไข้ต่ำๆ ถึงปานกลาง ราวๆ 2-37.8 องศาเซลเซียส

  • ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณคอ ท้ายทาย และหลังใบหู

  • มีตุ่มนูน ผื่นแดง หรือสีชมพูเกิดขึ้นที่ใบหน้า ลามมาถึงคอ แขน ขา และจะค่อยๆ หายไปอย่างช้าๆ ได้เองหลังจากมีอาการมา 3 วัน ผื่นที่เกิดขึ้นมักจะเป็นผื่นที่กระจายตัวอยู่ทั่วร่างกาย ไม่กระจุกกันเป็นก้อน ผื่นหายแล้วไม่ทิ้งรอยแผลเป็นเอาไว้ เว้นแต่บางรายที่มีอาการคันร่วมด้วย หากเกาแรงจนถลอกอาจเป็นแผลเป็นได้

  • ปวดศีรษะ

  • มีความอยากอาหารน้อยลง

  • เยื่อบุตาแดง

  • คัดจมูก น้ำมูกไหล

  • ปวดตามข้อเล็กน้อย

 

อันตรายของโรคหัดเยอรมัน

ตามปกติแล้วโรคหัดเยอรมันไม่ค่อยมีอันตรายที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนไทยในปัจจุบัน เพราะคนไทยส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม ที่ชื่อว่า Measles-Mumps-Rubella: MMR เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้มีภูมิต้านทานโรคนี้ไปตลอดชีวิต แต่ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นน้อย เช่น ข้ออักเสบที่นิ้ว ข้อมือ และหัวเข่า ติดเชื้อที่หูน้ำหนวก สมองอักเสบจนนำไปสู่โรคไข้สมองอักเสบ หรือทารกติดโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดจากแม่ที่ติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม อาการโดยรวมหากเกิดขึ้นกับเด็กจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

 

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

เนื่องจากโรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่ไม่มียารักษาโดยตรง จึงเป็นการทำการรักษาโดยแพทย์จ่ายยารักษาให้ตามอาการที่เกิดขึ้นคล้ายกับโรคหวัด หากอาการของโรคไม่ร้ายแรง จะสามารถค่อยๆ หายด้ายใน 7-10 วัน หากเป็นหญิงตั้งครรภ์อาจมีการให้ยาที่เป็นสารภูมิต้านทานโรคที่เรียกว่า Hyperimmune Globullin เพื่อต้านไวรัสไม่ให้เข้าไปถึงตัวของทารกในครรภ์

 

การป้องกันโรคหัดเยอรมัน

  1. ตรวจร่างกายให้แน่ใจว่ามีภูมิต้านทานต่อโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม จากการได้รับวัคซีน Measles-Mumps-Rubella: MMR เรียบร้อยแล้ว

  2. อยู่ห่างจากผู้ป่วยที่เป็นโรค หรือสวมถุงมือหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องอยู่ใกล้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ

  3. หมั่นล้างมือทุกครั้งหลังจากกลับมาจากสถานที่สาธารณะ รวมถึงล้างมือก่อนหยิบจับอาหารเข้าปาก

  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบภูมิกันโรคในร่างกายให้ทำงานได้ดี ต่อต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น

  5. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ที่มีการระบาดของโรค หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง อย่าลืมตรจร่างกายให้แน่ใจว่าเคยรับวัคซีนป้องกันโรคแล้ว และคอยสังเกตอาการของตัวเองหลังกลับมาจากการเดินทาง 21 วัน หากมีไข้ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว ควรรีบพบแพทย์ (อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัยด้วย)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook