จริงหรือไม่? “ไทรอยด์” ทำให้ “อ้วน” มากยิ่งขึ้น

จริงหรือไม่? “ไทรอยด์” ทำให้ “อ้วน” มากยิ่งขึ้น

จริงหรือไม่? “ไทรอยด์” ทำให้ “อ้วน” มากยิ่งขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนไทยหลายคนประสบปัญหาต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ส่งผลกระทบต่อร่างกายหลายประการ เพราะต่อมไทรอยด์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ทำงานหลายหน้าที่ และควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ จุด หากต่อมไทรอยด์มีปัญหา อาจทำให้การเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรตไม่ปกติ ฮอร์โมนบางชนิดไม่เพียงพอ ระบบหายใจ การควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย พัฒนาการทางสมองหัวใจ ระบบประสาท รวมไปถึงกำหนดรอบเดือนของผู้หญิงอาจมีปัญหาได้

นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ต่อมไทรอยด์ที่มีปัญหา อาจทำให้เรา “อ้วน” ขึ้นได้ จริงหรือไม่?

>> คุณรู้จัก “โรคไทรอยด์” ดีแล้วหรือยัง?

 

จริงหรือไม่? “ไทรอยด์” ทำให้ “อ้วน” มากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ว่าต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะรับผิดชอบต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายมากมาย หนึ่งในนั้นรวมถึงการควบคุมการเผาผลาญสารอาหารบางชนิดอย่างไขมัน และคาร์โบไฮเดรตด้วย ดังนั้นหากต่อมไทรอยด์ไม่ปกติ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญพลังงานที่ได้จากสารอาหารทั้งสองชนิดนี้ได้อย่างเต็มที่เช่นเคย จึงเป็นเหตุผลที่ว่าอาจทำให้ผู้ป่วยไทรอยด์น้ำหนักขึ้นง่าย อ้วนขึ้นง่ายกว่าเดิม เพราะแม้จะทานอาหารเหมือนเดิม หรือน้อยกว่าเดิม แต่การเผาผลาญพลังงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิมนั่นเอง

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า หากใครที่รู้สึกว่าตัวเองอ้วนง่าย อ้วนขึ้นแม้ว่าจะทานอาหารน้อยลง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของไทรอยด์ที่เรียกว่า “ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ” ได้

>> โรคไทรอยด์ กับ 8 สัญญาณเตือนภัย "ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ" 

 

อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ

นอกจากจะอ้วนขึ้นง่ายกว่าเดิมแล้ว ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำยังมีอาการอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณอันตรายอีกมากมาย ได้แก่

  • ผมร่วง

  • ผิวแห้ง

  • ท้องผูก

  • หนาวง่าย

  • เสียงแหบพร่า

  • คอโตขึ้น

  • ง่วงนอนบ่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • อารมณ์ทางเพศลดลง

  • เป็นตะคริวบ่อยๆ

 

การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ

หากแพทย์สามารถตรวจหาสาเหตุของโรคได้เจอ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้ทานไปเรื่อยๆ และนัดเช็กอาการ หากอาการทุเลาลง อาจสามารถหยุดยาได้ (หยุดทานยาต่อเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรหยุดยาเอง หรือซื้อยาอื่นมาทานเองเด็ดขาด)

หากแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้ หรือเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคประจำตัวอื่นๆ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่ช่วยควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้เป็นปกติ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ และอาจต้องนัดพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกาย และทานยาไปตลอดชีวิต

 

การป้องกันภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ

น่าเสียดายที่ในผู้ใหญ่ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ เนื่องจากเกิดขึ้นจากความผิดปกติของการทำงานของต่อมไทรอยด์เอง และไม่ทราบสาเหตุชัดเจนว่าทำไมต่อมไทรอยด์ถึงทำงานผิดปกติ แต่สำหรับเด็กสามารถตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ และรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้เด็กเติบโตด้วยร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้

>> เช็กเลย! ไทรอยด์ของคุณ ทำงานผิดปกติอยู่หรือไม่?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook