“วิ่ง” ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ จริงหรือไม่?

“วิ่ง” ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ จริงหรือไม่?

“วิ่ง” ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ จริงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทรนด์วิ่งยังคงเป็นที่สนใจของชาวไทยทุกเพศทุกวัยกันอยู่เรื่อยๆ ยิ่งในปีนี้มีกิจกรรมวิ่งเกิดขึ้นทางจากภาคเอกชน และภาครัฐมากมาย และแต่ละที่ก็ได้รับการตอบรับจากคนรักวิ่งอย่างท่วมท้นทุกครั้ง บ่งบอกให้เห็นว่ากระแสวิ่งยังคงไม่เลือนจางจากคนไทยไปง่ายๆ และน่าจะอยู่ไปได้อีกหลายปี

อย่างไรก็ตาม หากคิดว่าการวิ่งเหมาะกับทุกเพศทุกวัยอย่างที่คิดหรือไม่ ก็ต้องบอกไว้ก่อนว่า “ไม่จริงเสมอไป” เพราะหากใครที่มีปัญหาทางสุขภาพ อาจไม่เหมาะกับการวิ่งเท่าไร

 

วิ่ง เสี่ยง “ข้อเข่าเสื่อม” หรือไม่?

โรคข้อเข่าเสื่อม คือ ปัญหาของการสึกหรอของกระดูกอ่อนที่อยู่ในข้อเข่า โดยอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม อายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักตัวมาก มีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นแต่ได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง การใช้เข่าหนักๆ หรือไม่ถูกต้อง เช่น คุกเข่า นั่งยองๆ หรืองอเข่ามากๆ นานๆ รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับเข่า เช่น โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เกาต์ เป็นต้น

การวิ่งที่ทำให้เข่าได้รับแรงกระแทกจากน้ำหนักตัวมากๆ บ่อยๆ จึงอาจทำให้ข้อเข่าทำงานหนัก เกิดอาการอักเสบ ปวด บวม จนอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

 

การออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อม

นอกจากวิ่งแล้ว กีฬา หรือการออกกำลังกายที่เพิ่มแรงกระแทกให้กับข้อเข่า จนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล วอลเล่ย์บอล และกีฬาที่เกี่ยวกับวิ่ง และการกระโดดทุกชนิด

 

กลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

  • ผู้สูงอายุ

  • ผู้ที่เล่นกีฬาอย่างหักโหม

 

ออกกำลังกายอย่างไร ไม่เพิ่มความเสี่ยงโรคข้อเข่าอักเสบ

  1. เลือกออกกำลังกายที่ไม่เพิ่มแรงกระแทกกับข้อเข่า เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง (วิ่งเบาๆ ช้าๆ) เดินเร็ว ว่ายน้ำ โยคะ ปั่นจักรยาน แอโรบิก เป็นต้น

  2. ผู้ที่มีปัญหากับกระดูก ข้อ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก และผู้ที่เล่นกีฬาอย่างหักโหม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

  3. ก่อนออกกำลังกาย อย่าลืมวอร์มอัพร่างกายด้วยท่าแอโรบิกง่ายๆ ขยับทุกส่วนของร่างกาย 5-10 นาทีก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย

  4. หากออกกำลังกายแล้วมีอาการเจ็บเข่า ควรหยุดทันที ไม่ฝืนต่อ

  5. หลังออกกำลังกาย หากมีอาการปวดเข่า และปวดอย่างต่อเนื่อง ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ และรักษาต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook