สิ่งที่ควรรู้ก่อนทาน “ยาเขียว” ลดไข้แทน “พาราเซตามอล”

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทาน “ยาเขียว” ลดไข้แทน “พาราเซตามอล”

สิ่งที่ควรรู้ก่อนทาน “ยาเขียว” ลดไข้แทน “พาราเซตามอล”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสมุนไพรดีๆ มากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายคน โดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่นิยมทานยาสมุนไพรมากกว่ายาปฏิชีวนะ เพราะนอกจากสมุนไพรไทยส่วนใหญ่ราคาย่อมเยา หาซื้อได้ง่ายแล้ว ยังให้ผลดี และดีต่อสุขภาพ ไม่ตกค้างที่ตับอย่างที่หลายคนกลัวผลข้างเคียงของการทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยาสมุนไพรปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือ แล้วมีประสิทธิดีเทียบเท่ากับการทานยาปฏิชีวนะจริงๆ หรือไม่

 

ยาเขียว VS ยาพาราเซตามอล

ยาเขียว

ยาเขียว จัดเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ใช้กันมาอย่างยาวนานนับสิบปี มีสรรพคุณตามที่บันทึกไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ว่า ช่วยบรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส

อันตรายจากยาเขียว

แม้ว่ายาเขียวจะสามารถลดไข้ได้จริง แต่สามารถลดไข้ในรายที่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงเท่านั้น นอกจากนี้ยาเขียวยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนที่แน่ชัด ไม่สามารถลดไข้ได้หลายประเภทเหมือนยาพาราเซตามอล ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก เพราะตัวยาอาจเข้าไปบดบังอาการของโรคไข้เลือดออก ทำให้ทราบสาเหตุของโรคที่แท้จริงได้ยากมากยิ่งขึ้น และยังต้องระมัดระวังในการใช้ยากับผู้ที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เพราะในตำรับยามีส่วมผสมของเกสรดอกไม้รวมอยู่ด้วย

หากผู้ป่วยทานยาเขียวมากถึง 3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการไข้ที่แท้จริงต่อไป

 

ยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลเป็นหนึ่งในยาแก้ปวดที่อยู่ตำรับยาแผนปัจจุบัน มีสรรพคุณลดไข้ และบรรเทาอาการปวดได้ทั่วไป และสามารถใช้บรรเทาอาการไข้ของผู้ป่วยไข้เลือดออกได้

อันตรายจากยาพาราเซตามอล

การได้รับยาพาราเซตามอลในปริมาณมากเกินขนาด (150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวในคราวเดียวกัน) อาจทำให้ได้รับพิษมากขึ้น อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ เซื่องซึม รวมถึงตับ และไตอาจเป็นพิษ และทำงานผิดปกติได้

หากทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ติดต่อกัน 5 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการไข้ที่แท้จริงต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook