พบมากในไทย! ภาวะ “พร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา” อันตรายถึงตาบอด

พบมากในไทย! ภาวะ “พร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา” อันตรายถึงตาบอด

พบมากในไทย! ภาวะ “พร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา” อันตรายถึงตาบอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคที่เกี่ยวกับดวงตาที่เรารู้จักกันคงหนีไม่พ้น ตาแดง ตากุ้งยิง ต้อกระจก ต้อลม และยังมีอันตรายที่เกิดขึ้นได้กับดวงตาอีกมากมายที่พบในคนไทยจำนวนไม่น้อย นั่นคือภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา

 

ภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา คืออะไร?

ภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา คือภาวะที่เกิดจากอุบัติเหตุจากกรดด่างเข้าตา การโดนความร้อน ควันระเบิด การแพ้ยาแบบกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน กระจกตาติดเชื้อ ภาวะภูมแพ้ที่มีการอักเสบเรื้อรัง และโรคต่างๆ  ซึ่งมีผลทำให้ผิวกระจกตาจึงไม่เรียบ เกิดแผลเรื้อรัง มีเส้นเลือดจากเยื่อบุตาลุกล้ำเข้ามาในกระจกตา กระจกตาฝ้าขุ่นทำให้การมองเห็นลดลง กระจกตาทะลุ ติดเชื้อจนถึงตาบอด

 

อาการของภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา

  • เกิดแผลเรื้อรังในดวงตา ในกระจกตา

  • มีเส้นเลือดจากเยื่อบุตาลุกล้ำเข้ามาในกระจกตา

  • กระจกตาฝ้าขุ่น ทำให้การมองเห็นลดลง

  • กระจกตาทะลุ

  • อาจเกิดอาการติดเชื้อจนตาบอดได้

 

แนวทางรักษาภาวะพร่องเนื้อเยื่อเซลล์ต้นกำเนิดของผิวกระจกตา

แนวทางการรักษาที่ผ่านมาใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาซึ่งได้ผลไม่ดี เนื่องจากไม่ได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ กระจกตาที่เปลี่ยนอยู่ได้ไม่นาน 1-2  ปีเกิดแผลเรื้อรังมีเส้นเลือดงอกเข้ามา และกระจกตากลับมาขุ่น ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลงกลับมามองไม่เห็นและอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาใหม่  จนกระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ของผิวตา

แต่แพทย์หญิงวิลาวัณย์ พวงศรีเจริญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการให้บริการปลูกถ่ายกระจกตาและการใช้สเต็มเซลล์รักษาโรคตาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ทางศูนย์ได้รับความร่วมมือจาก Kyoto Prefectural University of Medicine ประเทศญี่ปุ่น ทำการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ของผิวตาได้เป็นผลสำเร็จ จึงได้มีการปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาฯ จากการศึกษาที่ผ่านพบว่า ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ 80% ถ้าใช้เซลล์ของตนเอง  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและโรคของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย กรณีที่ใช้เซลล์บริจาคต้องรับประทานยากดภูมิ ผลการตอบรับไม่ดีเมื่อเทียบกับการใช้เซลล์ของตนเอง

แต่หากเก็บข้อมูลจนได้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ จะเป็นความหวังใหม่ให้กับผู้ป่วยที่สามารถใช้วิธีการรักษาด้วยการเพาะเซลล์ต้นกำเนิด  โดยสามารถใช้มาจากตาข้างที่ดีของผู้ป่วยเอง หรือจากตาผู้บริจาคที่ได้จากศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย

 

หากสงสัยว่ากำลังมีอาการ หรืออยู่ในภาวะนี้ สามารถติดต่อเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการปลูกถ่ายกระตกตา และสเต็มเซลล์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook